บทความที่ได้รับความนิยม

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความเสี่ยงเมื่อทารกมีภาวะอุณหภูมิกายผิดปกติและแนวปฏิบัติที่ยังไม่ได้กลั่นกรอง

1.       ประเด็นสำคัญ / ความเสี่ยงสำคัญ
2.1 ทั่วไป  น้ำหนักไม่ขึ้น หรือน้ำหนักลด
2.2 ระบบผิวหนัง  เกิดภาวะ cyanosis
2.3 ระบบทางเดินอาหาร อาเจียน  ท้องอืด
2.4 ระบบประสาท  :  ซึม  ดูดนมช้า หรือดูดนมน้อยลง   ชักจากน้ำตาลในเลือดต่ำ  เลือดออกในสมอง
2.5 ระบบทางเดินหายใจ :  หายใจเร็ว  หายใจลำบาก
2.6 ระบบเผาผลาญ  :  น้ำตาลในเลือดต่ำ  มีภาวะ Metabolic acidosis
2.7 ระบบไหลเวียนเลือด  ตัวเหลือง  เกร็ดเลือดต่ำ  มีเลือดออกจากภาวะ DIC
2.8 ระบบทางเดินปัสสาวะ   ปัสสาวะออกน้อย   เกิดภาวะไตวาย

วิธีวัดอุณหภูมิร่างกายที่ถูกวิธี
·       ทางทวารหนัก
ทารก
ความลึกของปรอท
ระยะเวลา
Preterm
2.5 cm.
นาที
Term
3 cm.
นาที

·       ทางรักแร้
ทารก
ระยะเวลา
Preterm
นาที
Term
8 นาที

ขั้นตอนการวัดอุณหภูมิ
·       ทางทวารหนัก
1.       สลัดปรอทให้ต่ำกว่า 35  C  
2.       สำรวจกระเปราะปรอทก่อนทุกครั้งว่าไม่แตก มีสารปรอทอยู่เต็มกระเปราะ
3.       ทาหรือป้ายกระเปราะปรอทด้วยวาสลิน หรือ K.Y Jelly เพื่อหล่อลื่น
4.     ทารกต้องนอนหงาย ถอดผ้าห่อก้นออก จับข้อเท้าทารกและยกขาด้วยมือซ้าย เพื่อให้เห็นบริเวณทวารหนักชัดเจน โดยก้นติดกับพื้นราบ
5.       ใช้กระเปราะปรอทที่มีวาสลิน หรือ K.Y Jelly ป้ายรอบ ๆ ทวารหนักก่อน
6.       จับปรอททำมุม 30 องศากับพื้นราบ ค่อย ๆหมุนปลายกระเปราะปรอทลงในทวารหนักเบา ๆ และ ช้า ๆ ด้วยมือขวา
7.       ใส่ปรอทลงในทวารหนักลึก 2.5, 3 เซนติเมตร ตามแนวทาง
8.       ใช้เวลาวัดนาน 3 นาที อ่านระดับปรอท และลงบันทึก

·       ทางรักแร้
1.       สลัดปรอทให้ต่ำกว่า 35  C
2.       ใส่กระเปราะปรอทให้อยู่กลางรักแร้
3.       จับแขนทารกให้แนบกับลำตัวมากที่สุด
4.     ใช้มือหนึ่งจับปรอทไว้ อีกมือหนึ่งจับเนื้อบริเวณรอบ ๆ รักแร้ให้หุ้มมิดปิดปรอท หรือใช้ผ้าอ้อมพันแขนให้แนบกับลำตัว ให้มิดชิดมากที่สุดตลอดเวลาการวัด
5.       ใช้เวลาวัดนาน 5 นาที และ 8 นาที ตามแนวทางปฏิบัติ
ข้อควรระวังการวัดอุณหภูมิทางทวารหนัก
-          กรณีทารกที่สงสัยภาวะ Imperforate Anus
-          มีภาวะถ่ายเป็นเลือด
-          มีภาวะ trauma บริเวณ Anus , Rectum
-          ทารกสงสัย PPHN
-          NEC
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ Hypothermia
1.       คลอดก่อนกำหนด
2.     น้ำหนักน้อย  เช่น LBW (น้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม )  VLBW (น้ำหนักน้อยกว่า 1,500 กรัม ) ELBW (น้ำหนักน้อยกว่า 1,000 กรัม )
3.       เกิดก่อนมาถึงโรงพยาบาล (BBA)
4.       Perinatal  Asphyxia
5.       ทารกที่มารดาได้รับยาระงับปวด หรือยาสลบ
6.       Refer
7.       อื่นๆ เช่น สภาวะภูมิอากาศ
อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลการควบคุมอุณหภูมิกาย
1.       ปรอทรักแร้, ปรอท rectum, ปรอทวัดอุณหภูมิห้อง
2.       วาสลิน หรือ K.Y Jelly                                                                               
3.       หมวก 2 ชั้น
4.       ผ้าห่ม 1 ผืน                  
5.       ถุงนอน
6.       ผ้าห่อเด็ก อย่างน้อย 2 ผืน         
7.       ผ้าขนหนู 1 ผืน
8.       ถุงถั่วเขียว (ที่อุ่นแล้ว pack อยู่ในซอง)  
9.       Plastic wrap
10.    Radiant warmer
11.     Transport Incubator, Incubator             
12.    Skin probe และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมเทปกาว, Fixumo หรือ Urgaderm, micropore ,Tegaderm หรือ opsite                                                                                                                                                                         
13. Humidifier
14. Microwave
15. แบบฟอร์มการบันทึกอุณหภูมิ
ก่อนคลอด
 
แผนภูมิในการดูแลอุณหภูมิกายทารก
      ER, LR, OPD, OR

                                                - คัดกรองกลุ่มที่เสี่ยงต่อภาวะ Hypothermia (มารดา, ทารก)
                                                - การประสานงาน
                                                - การเตรียมความพร้อม   (ER, LR, OPD, OR, NS, ทีม Refer)
                                                - เตรียมอุปกรณ์รับเด็ก ทำให้อุ่น
ขณะคลอด
 
                                                - รักษาระดับอุณหภูมิห้อง 25 C
                                                                               LR, ER, OR, IRC, รพช.



                                                - ใช้ผ้าอุ่น รีบเช็ดตัวทารกให้แห้ง (ผืนที่ 1)
                                                -  วางทารกบนผ้าอุ่นและแห้ง (ผืนที่ 2) ใต้ Radiant warmer
หลังคลอด
 
                                                                                                  LR, ER, OR, IRC, รพช.



                                                - ให้ทารกสัมผัสกับผ้าแห้งและอุ่นเท่านั้น
                                                - เปลี่ยนผ้าเมื่อเปียกชื้นจากเสมหะ, สารคัดหลั่ง, การขับถ่าย
                                           - หลังจากทารก stable รีบวัดอุณหภูมิกาย
                                                - บันทึกอุณหภูมิกายทารก, อุณหภูมิห้อง
                                                - ห่อร่างกายทารกด้วยผ้าที่อุ่นแล้ว





อยู่กับมารดา
 

ขณะย้ายมา NิB
 

                             สูติกรรม, พิเศษ
สถานที่ - อบอุ่น ไม่มีลมพัดผ่าน                                                                              - เตรียมถุงถั่วเขียว, Transport Incubator
NB
 
    - อากาศถ่ายเท                                                                                              (Temp ตู้ 36 C)
                    - แสงสลัว                                                                                                   -  มีการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วย
 *แนวทางแก้ไข   เมื่อพบภาวะ Hypothermia ในทารกที่อยู่
                            กับมารดา
1.หาสาเหตุ    - ห้องเย็น                  - ลมพัด
- ห่อผ้าน้อย                - ปัสสาวะ, อุจจาระ
-  อื่น ๆ   ทารกมีการเจ็บป่วยเฉียบพลัน เช่น
   การติดเชื้อ
2.แก้ไขตามสาเหตุ               
 หาสถานที่อบอุ่น
ห่อตัวทารกด้วยผ้าอุ่นและหนาขึ้น                                    - กรณีที่อยู่ห้องคลอด อาจนำทารกอยู่ใต้ Radiant Warmer     -  ติดตามอุณหภูมิกายทารกหลังจากแก้ไข 15 – 30 นาที     ถ้าหากยังพบภาวะอุณหภูมิกายต่ำให้ รายงานแพทย์ เพื่อย้ายมา NS เพื่อดูอาการและหาสาเหตุอื่นต่อไป



 
                    - เงียบ
วัดอุณหภูมิและสัญญาณชีพ ทุก 4 ชม.
เมื่อพบภาวะอุณหภูมิกายต่ำ ค้นหาสาเหตุ                                                       
      และแก้ไขเบื้องต้น  *                                                                                       
หลังจากแก้ไขให้ติดตามอุณหภูมิกายต่อทุก 15-30 นาที           
ถ้ายังพบปัญหาให้ปรึกษาแพทย์เพื่อย้ายมา NS                         


กรณีทารกมีภาวะอุณหภูมิกายต่ำ (hypothermia)
Hypothermia
(core temperature < 36.5 oหรือ skin temperature < 36 o





Temp > 36.5 o
1.ตามอุณหภูมิทุก 15 นาที ถ้าอุณหภูมิ 37 oC x 2 ครั้ง จากนั้นวัดทุก 4 ชั่วโมง
2.set air temp / neutral thermal temp
 
                                                                               







การดูแลอุณหภูมิกายทารกของหน่วยงานบริบาลทารกแรกเกิด
- เตรียมอุณหภูมิห้องให้เหมาะสม 
- เตรียมอุปกรณ์รับเด็กให้เหมาะสมกับทารก (Incubator, Radiant warmer)
ขั้นตอนการรับเด็ก (NB)
- วัดอุณหภูมิกายทารกทันทีที่มาถึง
- บันทึกอุณหภูมิกายทารก, ห้อง, ตู้อบ
- ถ้าพบอุณหภูมิกายต่ำ ให้แก้ไขตาม   CPG
- ติดตามอุณหภูมิกายทุก 15 -30 นาที จนปกติติดต่อกัน 2 ครั้ง หลังจากนั้นทุก 4 ชม.
- เมื่อทารก stable อย่างน้อย4ชม.หรือไม่มีภาวะที่ต้องดูแลใกล้ชิดโดยผู้ชำนาญ

แนวทางการบันทึกอุณหภูมิกาย
   แบบฟอร์ม
1.       แบบฟอร์มการบันทึกอุณหภูมิกายของทารกขณะอยู่ที่หอผู้ป่วย ลงในFlow chart
   การลงบันทึก
1.       อุณหภูมิกาย
2.     อุณหภูมิตู้ (กรณีอยู่ตู้อบ)

แนวทางการใช้และการบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอุณหภูมิกาย
  Transport  Incubator รุ่น TI 500 (ตู้อบเด็กชนิดเคลื่อนย้าย)
วิธีการใช้งาน
1.       เสียบปลั๊กไฟ  AC  เข้าที่ช่องรับของตู้อบเด็ก  และแหล่งจ่ายกระแสไฟ AC ที่ผนังห้อง
2.       กดสวิทซ์ Main AC Power ไว้ที่ตำแหน่ง ON จะเห็นไฟเรืองแสง
3.       กดปุ่ม ON บนแผงควบคุม  เครื่องจะทำการทดสอบตัวเอง  พร้อมทั้งตั้งค่าอุณหภูมิโดย
                               อัตโนมัติที่  36.0 C
4. หากต้องการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ให้กดปุ่ม set Temp. จนไฟติด  แล้วกด ลูกศร ­, ¯ 
                            ตั้งค่าตามต้องการ
5. รอจนอุณหภูมิภายในตู้ได้ค่าตามที่ตั้งไว้
6.  วางเด็กลงบนเบาะ พร้อมใช้สายรัดลำตัว
7.ในกรณีที่ใช้ Skin Probe ให้เสียบ Skin Probe เข้าที่ช่องรับด้านข้างตู้ แล้วสอดผ่านช่อง
                           พลาสติก เพื่อติดไว้กับผิวหนังเด็ก
     หมายเหตุ   ควรทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่ติด Probe ให้แห้งและสะอาด  บริเวณที่ควรติด คือ บริเวณท้องโดยห่างจากตับ ยกเว้นเมื่อเด็กนอนคว่ำควรติดไว้กลางหลัง (เมื่อติด Probe แล้วควรแปะ Cover ทับอีกที)

                การใช้พลังงานจาก Battery
                                เมื่อไม่มีไฟฟ้าใด ๆ จากภายนอกเข้าสู่เครื่อง ตู้อบเด็กนี้จะมีระบบการใช้ไฟจาก Battery โดยอัตโนมัติ เมื่อ Battery มีไฟอยู่เต็ม จะสามารถใช้งานได้นานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ก่อนที่จะเกิดสัญญาณเตือน Low DC แต่ถ้ามีสัญญาณนี้เกิดขึ้น ควรจะรีบหาแหล่งพลังงานให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
                วิธีการใช้งานที่ถูกวิธี  จะช่วยยืดอายุ Battery ได้ ควรปฏิบัติ ดังนี้
1.       ใช้เพื่อการเคลื่อนย้ายในโรงพยาบาล
หากใช้งานเพื่อการเคลื่อนย้ายในระยะเวลาสั้น ๆ (เมื่อทำการชาร์จประจุจนเต็มลูก นาน 10 ชั่วโมง)
ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้หลายครั้งจนกว่าเครื่องร้องเตือน Low DC จึงให้เสียบปลั๊กไฟเพื่อชาร์จประจุทันที มิฉะนั้น Battery จะเสื่อมประสิทธิภาพ และจะต้องทำการเปลี่ยนลูกใหม่ทันที
2.       ใช้เพื่อเคลื่อนย้ายภายนอกโรงพยาบาล และจะต้องเตรียมความพร้อมเครื่องไว้ตลอดเวลา
ภายหลังจากใช้งานเสร็จแล้ว  ควรนำกลับมาเสียบปลั๊กไฟและกดสวิทซ์ Power On ด้านข้าง เพื่อ
ชาร์จประจุพร้อมกับกดสวิทซ์ที่ชุดควบคุมด้านหน้าและตั้งค่าอุณหภูมิตามปกติที่ใช้งานเพื่อ Warm  ตู้  ปล่อยเครื่องทิ้งไว้จนกว่าจะมีการนำไปใช้งาน  ในระหว่างการใช้งาน  หากเครื่องร้องเตือน Low DC จึงให้เสียบปลั๊กไฟเพื่อชาร์จประจุทันที  มิฉะนั้น Batery จะเสื่อมประสิทธิภาพ และจะต้องทำการเปลี่ยนลูกใหม่ทันที

การทำความสะอาดและการบำรุงรักษา
                                ควรทำความสะอาดภายหลังจากนำเด็กออก  หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง โดยทำความสะอาดส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
                                1. Lower Shell      ควรทำความสะอาดทุก 3 – 4 เดือน หรือคาดว่าจะมีการติดเชื้อนำเศษสำลี หรือ
                            เศษผงที่ติดอยู่ออก
                                2. ถาดให้ความชื้น และ Upper Shell               ใช้น้ำสบู่เช็ดทำความสะอาดทุกพื้นผิว และเช็ดให้แห้ง
                            ด้วยผ้าสะอาด                                                          
3. ถาดเบาะ           ทำความสะอาดเช่นเดียวกับถาดให้ความชื้น
4.  Hood และ Stand            ทำความสะอาดทั้งด้านในและด้านนอก ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ แล้วเช็ดให้
                             แห้งด้วยผ้าสะอาด   
หมายเหตุ  ไม่ควรใช้แอลกอฮอล์ อะซิโตน  หรือสารอินทรีย์อื่นใดเช็ด Hood เพราะจะทำให้
Hood เสียหาย     อย่าวาง Hood ให้ถูกกับแสงฆ่าเชื้อโดยตรงเพราะจะทำให้ Hood เกิดรอยแตก ซีด และขุ่นมัวได้
 
5. Tubing Access port Grommets    ทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ   ล้างด้วยน้ำอุ่น
                            และเช็ดด้วยผ้าแห้งสะอาด
 6. Air- Intake Filter      เมื่อเห็นว่าสกปรก หรือเมื่อครบ 3 เดือนแล้ว ควรจะเปลี่ยนใส่อันใหม่ 
                             ก่อนใส่ควรทำความสะอาดทั้งกล่องใส่และฝาปิด Filter ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเสียก่อน
                ข้อควรระวัง
-          ปิดถังออกซิเจนให้สนิท  และให้ห่างจากไฟหรือสิ่งที่อาจทำให้ระเบิดได้
-       ถอดปลั๊กไฟออกทั้ง AC และ DC ปลด Battery แล้วเลื่อนออกประมาณ 2 นิ้ว (การถอด Battery ควรทิ้งให้เย็นอย่างน้อย 20 นาที)


Incubator                       ยี่ห้อ Atom  รุ่น V80   3 เครื่อง
                                                ยี่ห้อ Atom รุ่น V850   1 เครื่อง
                                                ยี่ห้อ Isolate Air- Shield      1 เครื่อง
                ž   Atom              V80
วิธีการใช้งาน
1.       เปิดสวิทซ์ที่ปุ่มสวิทซ์ และจะมีสัญญาณไฟแสดงว่าได้เปิดสวิทซ์แล้ว
2.     ปรับอุณหภูมิที่ต้องการที่ปุ่มปรับอุณหภูมิ เทอร์โมมิเตอร์จะขึ้นแสดงให้ทราบถึงอุณหภูมิที่ต้องการ (จะใช้เวลาประมาณ 50 -60 นาที)
3.       ถ้าเทอร์โมมิเตอร์แสดงอุณหภูมิสูงกว่าที่เราต้องการไว้  ให้หมุนปรับอุณหภูมิทวนเข็มนาฬิกา
4.       ถ้าเทอร์โมมิเตอร์แสดงอุณหภูมิต่ำกว่าที่เราต้องการไว้  ให้หมุนปรับอุณหภูมิตามเข็มนาฬิกา
5.       เมื่อตั้งอุณหภูมิเป็นที่เรียบร้อย  ที่หน้าปัทม์ Heat  Output Indicator เข็มจะชี้จาก 0-1/2 แสดงอุณหภูมิภายในเครื่องใช้ได้
6.   หากอุณหภูมิภายในเครื่องสูงระหว่าง 38-39 C จะมีเสียงสัญญาณบอก (Alarm Lamp)
7.   เมื่อทุกอย่างเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เปิดประตูด้านหน้า โดยปลดล็อคซ้ายขวาด้านบนออกค่อย ๆ
      วางบานประตูด้านหน้าลง
8.       นำทารกวางบนเบาะ ปิดประตูด้านหน้าบิดล็อค

                ž    Atom V850
วิธีการใช้งาน
1.       เสียบปลั๊กไฟของเครื่องตู้อบเด็กให้เข้ากับปลั๊กไฟของทางโรงพยาบาลให้แน่นเป็นที่เรียบร้อย
2.       เปิดสวิทซ์ Power ที่ปุ่มสวิทซ์ซึ่งอยู่ทางด้านขวามือของเครื่องตู้อบเด็กไปที่ตำแหน่งเลข 1 และจะมีสัญญาณไฟแสดง  โดยติดสว่างที่จอเครื่องด้านหน้าเพื่อแสดงว่าได้เปิดสวิทซ์แล้ว
3.       ปรับอุณหภูมิตามที่ต้องการโดยกดปุ่ม SET แช่ไว้ 3 วินาที ในกรณีใช้แบบ Manual Control จะมีไฟกระพริบที่ตำแหน่ง AIR เมื่อไฟกระพริบที่ตำแหน่ง AIR ก็สามารถตั้งอุณหภูมิตามต้องการโดยกดปุ่ม Set TEMP.   Ý   ต้องการอุณหภูมิสูงขึ้น   ß   ต้องการอุณหภูมิลดลง  สามารถตั้งอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 25.0-38.0 C เพิ่มขึ้นครั้งละ 0.1 C
4.    ตัวเลขที่จอเครื่องด้านหน้าจะขึ้นแสดงให้ทราบค่าอุณหภูมิที่ตั้งไว้อยู่ตรงกลางและส่วนตัวเลขที่
       แสดงค่าอุณหภูมิในตู้อบเด็กซึ่งอยู่ขวามือ ตัวเลขสามารถแสดงค่าอุณหภูมิของ Air Temperature ได้
       ตั้งแต่  20.0-42.0 C
5.     เมื่อตั้งอุณหภูมิตามที่ต้องการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ที่หน้าปัทม์  Heater  Output  ไฟจะติดจาก 0 –
        1/2 แสดงว่าอุณหภูมิภายในเครื่องใช้ได้
6.       หากอุณหภูมิภายในเครื่องสูงกว่า 37 จะมีไฟติดที่ตำแหน่ง  > 37
7.       ในกรณีที่ตู้อบเป็นรุ่น  Double - Wall Hood  จะสามารถทราบค่าอุณหภูมิที่ฝาผนังชั้นที่สองโดยกดปุ่ม Wall/RH  เมื่อกดปุ่มแล้วจะเห็นว่าไฟที่คำว่า  Wall  จะติดสว่าง
8.   เมื่อทุกอย่างเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เปิดประตูด้านหน้า โดยปลดล็อคซ้ายขวาด้านบนออกค่อย ๆ
      วางบานประตูด้านหน้าลง
9.  นำทารกวางบนเบาะ ปิดประตูด้านหน้าปิดล็อค
10.  ในกรณีที่มีความต้องการใช้ระบบ Servo Control ต้องต่อสาย Skin Temperature Probe เข้ากับ   
       ข้อต่อซึ่งอยู่ทางด้านขวามือของตู้อบเด็กให้ถูกต้อง
11.  สาย Skin temperature Probe อีกด้านหนึ่งใช้ติดที่บริเวณระหว่างหน้าอกกับสะดือของผู้ป่วย โดยมี  
       ด้านที่เป็นโลหะติดให้แนบแน่นเข้ากับผิวหนัง มิฉะนั้นอุณหภูมิจะไม่ขึ้นหรืออาจจะเปลี่ยนแปลง
       กล่าวคือ อ่านค่าได้สูงขึ้นก็ได้ส่วนอีกด้านหนึ่งของสาย Probe ซึ่งเป็นยางสังเคราะห์ สำหรับปิดผ้า 
       เทปเพื่อยึด Probe ให้ติดกับผิวหนัง
12.  ต้องให้หนังสือคำว่า SKIN ติดสว่าง ซึ่งถ้าคำว่า SKIN ติดสว่างก็หมายถึง ใช้ระบบ Servo Control
       โดยการกดปุ่ม SKIN / AIR แช่ทิ้งไว้เป็นเวลาเป็นเวลา 3 วินาที
13.  ต้องการตั้งอุณหภูมิตามที่ต้องการโดยกดปุ่ม SET แช่ไว้เป็นเวลา 3 วินาที ต่อจากนั้นไฟที่ตำแหน่ง
                 SKIN ก็จะกระพริบซึ่งเมื่อไฟกระพริบแล้วก็สามารถตั้งอุณหภูมิตามต้องการได้ โดยกดปุ่ม SET TEMP               
                Ý   ต้องการอุณหภูมิสูงขึ้น     ß   ต้องการอุณหภูมิลดลง   สามารถตั้งอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 34.0-38.0 C
                14.  ตัวเลขที่จอเครื่องด้านหน้าจะขึ้นแสดงให้ทราบค่าอุณหภูมิที่ตั้งไว้ ซึ่งอยู่ตรงกลาง และส่วนตัวเลขที่
                   แสดงค่าอุณหภูมิอยู่ทางซ้ายมือ เครื่องสามารถอ่านอุณหภูมิที่ผิวหนังได้ตั้งแต่ 30.0-42.0 C
                15    เมื่อตั้งอุณหภูมิตามที่ต้องการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ที่หน้าปัทน์ Heat Output  ไฟจะติดจาก 0-1/2  
                     แสดงว่าอุณหภูมิได้ตามที่ตั้งไว้
16.  ในขณะเปิดเครื่องใช้งานอยู่เกิดไฟดับ หรือสายปลั๊กหลุด จะมีสัญญาณเตือนด้วยแสงและเสียง   
       โดยไฟติดสว่างที่คำว่า Power Failure
 17.   มีระบบสัญญาณเตือนด้วยแสงและเสียงในกรณีที่
- อุณหภูมิสูงกว่า 39 C
- เปิดฝาครอบตู้อบ (Hood) นานเกินไป และแผ่นกรองอากาศหมดอายุการใช้งาน
- อุณหภูมิที่แสดงจะสูง ต่ำกว่าอุณหภูมิที่ต้องการ
- สายข้อต่อ Sensor หลุดออกจากตัว Power Unit
- ข้อต่อสาย Skin temperature Probe หลุดออกจากตัวเครื่องตู้อบเด็ก
18.   ในขณะที่มีสัญญาณเตือนสามารถให้สัญญาณเตือนเงียบได้โดยกดปุ่ม Alarm    Silence / Reset
        แล้วจะมีไฟติดสว่างที่คำว่า Silence

ž    Isolate Air- Shield
วิธีการใช้งาน
1.       กดปุ่มสวิทซ์ซึ่งอยู่ด้านขวามือของตู้อบ และมีสัญญาณไฟแสดง โดยติดสว่างที่จอเครื่องด้านหน้า
2.       ปรับอุณหภูมิตามต้องการ ในกรณีที่ใช้ระบบ Air Mode Control สามารถตั้งอุณหภูมิโดยกดปุ่ม  Keypad Lock  1 ครั้ง ไฟจะดับ สามารถตั้งอุณหภูมิได้ถึง 37 เพิ่มขึ้นครั้งละ 0.1 Ý ต้องการอุณหภูมิสูงขึ้น    ß ต้องการอุณหภูมิลดลง  เมื่อได้อุณหภูมิตามต้องการแล้วให้กด Keypad Lock  อีก 1 ครั้ง ไฟจะสว่างขึ้น
3.       หากต้องการอุณหภูมิสูงกว่า 37 C  ให้กดปุ่ม > 37 จะสามารถตั้งอุณหภูมิได้ถึง 38 C
4.       ตัวเลขที่จอเครื่องด้านหน้าจะขึ้นแสดงให้ทราบค่าอุณหภูมิที่ตั้งไว้ ซึ่งอยู่ด้านซ้ายมือในช่อง Set Temp  C    และส่วนตัวเลขที่แสดงค่าอุณหภูมิในตู้อบเด็กซึ่งขวามือในช่อง  » Air Temperature   ํ C
5.       ในกรณีที่มีความต้องการใช้ระบบ Servo Mode ต้องต่อสาย Skin Temperature เข้ากับข้อต่อ ซึ่งอยู่ด้านขวามือของตู้อบ ด้านบนปุ่มสวิทซ์เปิดเครื่อง ใส่ให้ถูกต้อง
6.       สาย Skin Temperature Probe อีกด้านหนึ่งให้ติดที่บริเวณระหว่างสะดือกับหน้าอกกับตัวผู้ป่วย โดยด้านที่เป็นโลหะติดให้แนบแน่นเข้ากับผิวหนัง ส่วนอีกด้านหนึ่งของสาย Probe ซึ่งเป็นสายยางสังเคราะห์ สำหรับติดผ้าเทปเพื่อยึดติด Probe ให้ติดกับผิวหนัง
7.       กด ตัวหนังสือคำว่า Baby Modeติดสว่างขึ้น หมายถึงสามารถใช้ระบบ Servo Control 
8.       การตั้งอุณหภูมิตามที่ต้องการโดยกดปุ่ม Keypad Lock 1 ครั้ง  ไฟจะดับ สามารถตั้งอุณหภูมิได้ถึง 37  C เพิ่มขึ้นครั้งละ 0.1  C      Ý  ต้องการอุณหภูมิสูงขึ้น       ß  ต้องการอุณหภูมิลดลง    เมื่อได้อุณหภูมิที่ต้องการแล้ว ให้กด Keypad Lock  1 ครั้ง ไฟจะสว่างขึ้น
9.       หากต้องการอุณหภูมิที่สูงกว่า 37 C   ให้กดปุ่ม > 37 จะสามารถตั้งอุณหภูมิได้ถึง 38 C
10.    ตัวเลขที่จอเครื่องด้านหน้าจะขึ้นแสดงให้ทราบว่าอุณหภูมิที่ตั้งไว้  ซึ่งอยู่ตรงกลางในช่อง baby temp   ํ และส่วนตัวเลขที่แสดงค่าอุณหภูมิในตู้อบเด็กซึ่งอยู่ตรงขวามือในช่อง  Set Temp  C
11.    มีระบบสัญญาณเตือนด้วยแสงและเสียงจะปรากฏในช่อง  Alarm
12.    ในขณะมีสัญญาณเตือนสามารถให้สัญญาณเตือนเงียบโดยการกดปุ่ม%
13.    เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยให้เปิดฝาครอบ โดยปลดล็อคด้านขวามือและซ้ายมือแล้วค่อย ๆ วางบานประตู
14.    เมื่อนำทารกวางบนเบาะแล้ว ปิดฝาครอบโดยบิดล็อคด้านขวามือและซ้ายมือ
15.    เมื่อต้องการยกเบาะด้านหัวและด้านท้าย สามารถทำได้โดยการหมุนคันโยกทั้งสองข้างด้านหน้า

               


การทำความสะอาดและการบำรุงรักษา
1.       ควรมีการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนเด็ก หรือทุกวัน วันละ 1 ครั้ง
2.       ในการทำความสะอาดตู้อบเด็กควรถอดปลั๊กก่อนทุกครั้ง
3.       ถอดสายยางที่หน้าต่างสเน็ป, ถาดรองเบาะ, เบาะ, ซิลยางรองฝาครอบ, สายยางขอบประตูด้านหน้าออกทำความสะอาด ด้วยน้ำสบู่และเช็ดด้วยผ้าแห้งสะอาด
4.       เมื่อทำความสะอาดฝาครอบเรียบร้อยแล้วให้ถอดตัว Power Unit ที่อยู่ด้านหน้าเครื่อง  โดยการถอดสายไฟกับข้อต่อ Sensor ออกจากตัว Power unit ซึ่งตัว Power unit  จะมีตัวล็อคอยู่ ปลดตัวล็อคออก แล้วดึงออกมาตรง ๆ เช็ดพัดลมและกล่องด้านข้าง ด้านหลังให้สะอาดและจัดเข้าที่เดิม
5.       การเปลี่ยนฟิลเตอร์ควรเปลี่ยนทุก 3 เดือน แต่ขึ้นอยู่กับอากาศโดยรอบ และความถี่ในการใช้งาน โดยการขันน็อตทั้งสองข้างที่อยู่ทางด้านหลังของตู้ออกมา ถอดฟิลเตอร์ออกอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันฝุ่นฟุ้งกระจาย ทำความสะอาดที่ใส่ฟิลเตอร์ด้วยน้ำสบู่ และเช็ดด้วยผ้าแห้งสะอาด จากนั้นใส่แผ่นใหม่เข้าไปแล้วขันน็อตให้แน่นตามเดิม ควรมีการบันทึกวันที่เปลี่ยน
6.       ห้ามทาแป้งเด็กที่อยู่ในตู้อบ, ไม่ควรวางสำลีในตู้อบ
7.       หากไม่ต้องการใช้ตู้อบ หลังทำความสะอาดแล้วควรคลุมตู้ด้วยพลาสติก หรือ ผ้าสะอาด เพื่อเตรียมใช้ต่อไป
8.       ควร Warm ตู้อบที่ 37  C เป็นเวลา 24 ชั่วโมงเมื่อมีการเปลี่ยนเด็กและ ก่อนนำมาใช้งานอีกครั้ง
9.       หมั่นตรวจเช็คอุปกรณ์ต่าง ๆ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันอุปกรณ์ชำรุด

   Radiant Warmer                    
วิธีการใช้งาน
1.       ตั้งเครื่องให้ตั้งฉากกับกำแพง (ในกรณีที่วางเครื่องชิดกำแพง) การวางเครื่องชิดและขนานกับกำแพงจะทำให้ Thermostat รับรู้อุณหภูมิผิดพลาด
2.       ตั้งโคมให้ขอบล่างของโคมโลหะ ซึ่งภายในมีแท่ง Heater อยู่ห่างจากที่นอนของทารก 90 ซม. ระยะห่างขนาดนี้จะให้อุณหภูมิรอบกายทารก ดังนี้

อุณหภูมิที่ตั้งC )
อุณหภูมิรอบกายทารกC )
40
32.0 - 33.0
45
32.5 – 34.0
50
33.5 – 35.5
55
36.0 – 37.0
60
38.0 – 39.5
อุณหภูมิรอบกายทารกจะเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิของห้องและกระแสอากาศที่พัดผ่านตัวของทารก (จากลมธรรมชาติ พัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ) เพราะฉะนั้นจะต้องระวังไม่ให้มีกระแสลมพัดผ่านทารก
3.       ตั้งอุณหภูมิของ Thermostat ที่อยู่ด้านหลังของโคมโลหะ เพื่อกำหนดให้แท่ง Heater ผลิตความร้อนตามต้องการ
4.       ติดตามอุณหภูมิกายของทารกเป็นระยะ ๆ เพื่อป้องกันภาวะอุณหภูมิกายสูงเกิน ( > 37.5  ํ C) หรือภาวะอุณหภูมิกายต่ำ (< 36.5  C)
ข้อสังเกต
1.       หากอุณหภูมิที่ตั้งไว้ใกล้เคียงกับอุณหภูมิของห้องที่ทารกอยู่ Heater จะไม่ทำงาน
2.       ห้ามตั้ง อุณหภูมิสูงเกิน 60  C เพราะจะทำให้สีที่เคลือบน้ำยาหลุดออกมา เป็นอันตรายต่อทารก

ž        Radiant Warmer  รุ่น  ATOM V – 505
                                µ สถานที่ตั้ง      ควรติดตั้งเครื่องในสถานที่พื้นผิวเรียบสะดวกต่อการทำงาน ไม่ควรติดตั้งใกล้กับเครื่องมือที่มีความร้อนหรือหน้าต่างที่มีแสงแดดส่องหรือเชื้อไฟ ควรติดตั้งในห้องที่มีอุณหภูมิประมาณ 22 -30 C ควรระวังไม่ให้เกิดค่าอุณหภูมิห้องเปลี่ยนแปลงขึ้น ๆ ลง ๆ มาก

                -   ความสูงของขาวางสามารถปรับได้ถ้าจำเป็น โดยเหยียบลงไปแผ่นเหยียบซึ่งด้านข้างล่างของเครื่อง   ในการที่จะยกเครื่องให้สูงขึ้น ก็ให้เหยียบไปที่ลูกศรขึ้น (5) โดยเหยียบให้ต่อเนื่องจนกระทั่งได้ระดับตามความต้องการก็ยกเท้าออก ในการที่จะลดระดับให้ต่ำลงก็ให้เหยียบไปที่ลูกศร (6) โดยกดเหยียบให้ต่อเนื่อง จนกระทั่งได้ระดับตามความต้องการก็ยกเท้าออก

                -  เสียบสายไฟเข้ากับขั้วต่อและเสียบปลั๊กเข้ากับเต้าเสียบของแหล่งจ่ายไฟ
                -  กด Power สวิทซ์ไนตำแหน่ง ON
                µ   หน่วยความจำ    ถ้ากระแสไฟฟ้าขัดข้อง, ปลั๊กไฟหลุดหรือสาเหตุอื่น ๆ ค่าอุณหภูมิที่ตั้งไว้และสัญญาณแสดงค่าต่าง ๆจะยังคงเก็บไว้ในหน่วยความจำและเมื่อไฟฟ้าเป็นปกติผู้ใช้ไม่ต้องตั้งค่าใหม่ ดังนั้นค่าที่ตั้งไว้ครั้งสุดท้าย และสัญญาณแสดงค่าต่าง ๆ จะปรากฏขึ้น เมื่อกดปุ่ม Power
                µ  Lighting    หลอดไฟส่องสว่างติดตั้งอยู่ในกระโจม เพื่อใช้ส่องสว่างในการรักษาเด็ก มี Swiitch ปิด/เปิด หลอดไฟติดตั้งอยู่บนหน้าปัทม์ควบคุม
                µ Rotating / Tilting the canopy     น็อตที่อยู่ด้านหลังของกระโจมสามารถคลายออก และสามารถหมุนกระโจมไปตามเข็มนาฬิกา หรือทวนเข็มนาฬิกาในกรณีที่ต้องการลดความร้อนอย่างรวดเร็ว ทำได้โดยการเอียงกระโจมและไม่ให้มีผลกระทบต่อเด็กโดยตรง ขณะที่เอียงกระโจม จะมีสัญญาณแสดงเป็นตัวอักษร CANOPY STATE มีแสง Flash และพร้อมมีเสียงสัญญาณเตือนทุก ๆ 5 นาที กระโจมสามารถหมุนจากตำแหน่งศูนย์กลางไปทางแนวราบได้ข้างละ 100 องศา และปรับเอียงขึ้นลงได้ 30 องศา
                µ  Mattress  platform      ที่รองเบาะสามารถปรับเอียงสูงต่ำได้ 12 องศา โดยยกขึ้นทางด้านข้าง  ในการเอียงที่รองรับเบาะ ให้ดึงคันโยกของที่รองรับเบาะออกมาให้ตัวล็อคปลดสกัดออก  เมื่อต้องการจะล็อคก็ให้ปล่อยคันโยกบังคับกลับที่เดิม
                - ข้อควรระวัง       ไม่แน่ใจว่าตำแหน่งของที่รองรับเบาะ อยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม จำนวนความร้อนที่ไปถึงเบาะรองรับเด็กจะเปลี่ยนไปตามแนวราบ หรือความเอียง
µ  Baby  Guard (ผนังกั้นเด็ก)       สามารถพับลงได้ 3 ด้าน  ทำได้โดยดึงผนังกั้นขึ้นและพับลงเข้าข้างตัว  ถ้าต้องการใส่กลับเข้าที่เดิมก็ให้ดึงผนังกั้นเด็กขึ้น แล้ววางลงให้เข้าล็อคเหมือนเดิม
                µ  Heat Control     Heater  Output  ของเครื่องนี้สามารถควบคุมได้ 2 แบบ  แบบ Manual Control Heater Output  จะตั้งค่าคงที่เป็น  % ในแบบ  Servo  Control  สายวัดอุณหภูมิผิวหนังเด็ก และ Heater  Output  จะทำงานโดยอัตโนมัติสัมพันธ์กับระดับอุณหภูมิผิวหนังเด็กที่มีเปลี่ยนแปลง
                - การตั้ง Heater Output (Manual Control)    Heater Output สามารถควบคุมได้ตามต้องการ           การเปลี่ยนความร้อนต่อทารกจะให้ทารกจะให้เร็ว ๆ หรือช้า ๆได้
1.       กดปุ่ม Switch ของ Manual Control  ไว้ 1 นาที
2.       เมื่อค่าสัญญาณ  “ % “  ปรากฏขึ้นอยู่ทางด้านขวา
      ของค่าอุณหภูมิผิวหนัง / ค่าระดับของ Heater Output 
      เริ่มมีแสงวูบวาบ ของ %, ให้กดปุ่มลูกศรขึ้น  ­ หรือ
      ลง  ¯   เพื่อจะตั้งค่าระดับความร้อนตามต้องการ ถ้า 
      Heater Output สามารถตั้งได้ในระยะ 0 – 100 %
      โดยเพิ่มขึ้นทีละ 5 %
                3. สัญลักษณ์   “% “  จะไม่มีแสงวูบวาบเกิดขึ้น (Stop flash) เมื่อระดับความร้อนมาถึงในระดับที่ตั้งค่าไว้ตามต้องการ หมายถึง ขดลวดความร้อนได้ทำหน้าที่แล้ว

                <    เมื่อค่าความร้อน Heater Output ตั้งไว้ที่ 30 % หรือสูงกว่านี้ ในการทำงานของ Manual Control การตรวจสอบสัญญาณเตือนจะมีแสง flash และมีเสียงดังทุก ๆ 15 นาทีในการทำงาน ขดลวดความร้อนจะปิด Silence เมื่อกดปุ่ม Silence Switch แล้วสัญญาณเตือนเสียงดังจะเงียบไป

µ  Skin Temperature monitor  เพื่อจะดูค่าอุณหภูมิผิวหนังของทารกอย่างต่อเนื่องบนแผงควบคุมของ Infa Warmer ให้ติด Probe ของ skin temperature เข้ากับผิวหนังของทารก
                หมายเหตุ   ปัจจุบันห้องผ่าตัดไม่ได้ใช้  Skin Temperature monitor เนื่องจากมีความขัดข้อง จึงใช้แบบ Manaul Control   โดยตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 100 C และดูแลทารกขณะคลอดตาม Clinical Practice Guideline 
               



การทำความสะอาด
1.       Main  Body  
µ โครงสร้างและกระโจม      ทำความสะอาดด้วยผ้านุ่ม ๆ ที่ชุบผงซักฟอก และน้ำยาฆ่าเชื้อ        
ทำความสะอาดส่วนสะท้อนรังสีความร้อนของกระโจม ด้วยผ้าที่ดูดซับ  ethyl alcohol เพื่อที่จะให้มีความมันเงาเสมอ ควรทำความสะอาดทุกสัปดาห์
ข้อควรระวัง          ปิดชุดการทำงานของ heater และรอให้เย็นก่อนเสมอ

     µ ผนังกั้นเด็กตก         ทำความสะอาดด้วยผ้านุ่ม ๆ ที่ชุบผงซักฟอก และน้ำยาฆ่าเชื้อควรทำความสะอาดทุกสัปดาห์
ข้อควรระวัง          ไม่ควรใช้ ethyl alcohol ทำความสะอาด

     µหลอดไฟส่องสว่าง  ปิดสวิทซ์ไฟก่อนทำความสะอาดหลอดไฟ และรอบ ๆหลอดไฟ และต้องรอให้หลอดไฟเย็นก่อนทำความสะอาดด้วยผ้านุ่ม ๆควรทำความสะอาดทุกสัปดาห์
ข้อควรระวัง          ไม่ควรใช้ ethyl alcohol ทำความสะอาดหลอดไฟและรอบ ๆ หลอดไฟ ยกเว้น
                                                 ตัวแผ่รังสีความร้อน

   µ เบาะรองเด็ก    ใช้ผ้านุ่มชุบน้ำยาฆ่าเชื้อโรคทำความสะอาดภายในเบาะรองนอก บรรจุด้วยฟองน้ำชนิดพิเศษ และหุ้มด้วยไวนิล ฟองน้ำภายในไม่ควรให้มีเชื้อโรค โดยอย่าให้ไวนิลที่หุ้มเสียหาย ควรทำความสะอาดทุกวัน

การบำรุงรักษา
*      ตรวจสอบก่อนการใช้งานตามขั้นตอนใช้งานเบื้องต้นในแต่ละส่วนของเครื่อง
*      ตรวจสอบทุก 3 เดือน ให้เช็คแต่ละฟังก์ชั่นของเครื่อง
*      ทำการตรวจสอบเครื่องปีละครั้ง
*      เปลี่ยนอะไหล่เป็นระยะตามระยะเวลา
   Humidifier
การตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับความชื้น ช่วยให้ก๊าซที่ออกมาจากอับน้ำมีอุณหภูมิ 37  C มีความอิ่มตัวด้วยไอน้ำเหมือนการหายใจตามธรรมชาติ  ช่วยป้องกันการสูญเสียน้ำและความร้อนจากทางเดินอากาศหายใจ
                Humidifier ซึ่งใช้สำหรับผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจ มี 2 ประเภท คือ
                1. Non heated wire Humidifier
                2. Heated wire


ž  Non heated wire Humidifier
                Humidifier ชนิดนี้ประกอบด้วย
- Control module ตัวควบคุมความร้อน สามารถปรับระดับความร้อนเบอร์1-9 อุณหภูมิตั้งแต่ 24 - 77 C
-  Infant cover and Jar Assembly สำหรับบรรจุน้ำ อยู่เหนือ Control module ความจุน้ำ 180 ml ระดับ
   น้ำที่เหมาะสมคือ 120 ml ระยะเวลา warm-up น้ำ 10-30 นาที
            - Heater เป็นแผ่นเหล็กรองใต้ Jar Assembly ต่อกับ Control module ความร้อนจากแผ่นเหล็กจะมาสู่
              น้ำ เมื่อก๊าซจากเครื่องช่วยหายใจผ่านเข้าทาง Infant cover สู่น้ำ  ก๊าซจะพาความร้อน และความชื้นจาก
              น้ำเข้าสู่ผู้ป่วย ซึ่งความร้อนจากก๊าซมักสูญเสียตามท่อเครื่องช่วยหายใจ (Tubing) ก่อนเข้าสู่ผู้ป่วย ซึ่ง
              การสูญเสียความร้อนตาม Tubing ขึ้นอยู่กับระดับน้ำ, อุณหภูมิห้อง, ความยาวของ Tubing, Flow rate,
              Respiratory rate

วิธีตั้งอุณหภูมิ       ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับความชื้น 40  อุณหภูมิก๊าซที่ออกจากอับใส่น้ำ (chamber)  - 3
ซึ่งหมายถึงว่า อุณหภูมิก๊าซที่ออกจากอับน้ำ 40 – 3  ได้เท่ากับ 37 C การตั้งลักษณะนี้ทำให้ก๊าซที่ออกจากอับน้ำมีอุณหภูมิ 37  C มีไอน้ำอยู่ 44 มก./ลิตร  ระหว่างที่ไหลใน tubing ที่มีheated wire อยู่ภายใน ก๊าซถูกอุ่นให้มีอุณหภูมิสูงขึ้นเป็น 40 โดยไอน้ำในก๊าซไม่ได้เพิ่มขึ้น เมื่อผ่านพ้น tubing  ส่วนที่มี heated  wire แล้ว อุณหภูมิก๊าซลดลงเหลือ 37 C ก่อนเข้าสู่ทารก โดยเป็นอุณหภูมิที่เหมาะสม และมีไอน้ำ 44 มก. /ลิตร การจัดอุณหภูมิดังกล่าวทำให้ไม่มีการกลั่นตัวของไอน้ำ  หากใช้ tubing ที่ไม่มี heated wire   และพบน้ำขังมาก หรือมีหยดน้ำเกาะจับที่  y-pieceหรือท่อหลอดลมเมื่อตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับความชื้น 40 – 3  C ให้แก้ไขดังนี้
- เพิ่มอุณหภูมิห้อง
- อย่าให้ลมจากพัดลม หรือเครื่องปรับอากาศพัดผ่าน tubing
- หุ้มห่อ tubing ด้วยผ้า

                ข้อควรระวัง          อุณหภูมิก๊าซที่ออกจาก Humidifier จะสูงกว่าอุณหภูมิห้อง ดังนั้นก๊าซที่ผ่านมาในวงจรท่อช่วยหายใจจะเย็นตัวลงทำให้ไอน้ำกลั่นตัวเป็นหยดน้ำซึ่งจะขัดขวางการไหลของก๊าซจาก Humidifier สู่ทางเดินหายใจของทารก นอกจากนี้น้ำที่ขังอยู่อาจไหลลง ETT ทำให้ทารกสำลักน้ำและเขียว การจัดท่อของเครื่องช่วยหายใจจึงต้องป้องกันน้ำไหลเข้าปอด โดยจัดให้ท่อโค้งต่ำกว่าระดับที่ต่อ ETTและเทน้ำที่ขังอยู่ออกจากสาย ห้ามเทน้ำกลับเข้าใน Humidifier เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อ
การทำความสะอาดและการบำรุงรักษา
-          เติมน้ำอย่าให้เกินขีดที่กำหนด
-          ล้างน้ำสะอาด ผึ่งให้แห้ง แล้วส่งอบแก๊ส
-          เปลี่ยนล้างทำความสะอาดทุก 3วัน



Plastic wrap
                คลุมบริเวณศีรษะ, ลำตัว, แขน, ขา ให้แนบผิวหนัง ดูแลไม่ให้รัดแน่นและ ให้เรียบเสมอกัน เพื่อป้องกันการเกิด Ischemia

Skin Probe 
 วิธีการใช้
1.       การติด Skin Probe ต้องให้ติดแนบสนิทกับผิวหนัง เพราะการรับรู้อุณหภูมิจะผิดพลาดหาก            
Skin Probe อยู่เหนือผิวหนัง ทำให้รับรู้อุณหภูมิของอากาศที่แทรกอยู่ระหว่างผิวหนังกับ probe ซึ่งอาจทำให้ทารกเกิดภาวะอุณหภูมิกายสูง
2.       ไม่ควรให้มีความร้อนจากเครื่องให้ความอบอุ่น โดยการแผ่รังสี หรือเครื่อง Phototherapy
กระทบ Skin Probe โดยตรง ต้องมี Aluminium patch ปิดทับ
3.       Skin Probe ไม่ควรติดไว้ในตำแหน่งที่ทารกนอนทับหรือถูกกดทับ เพราะผิวหนังส่วนที่ทีการ  
การกดทับจะมีอุณหภูมิสะสมสูงกว่าปกติ ทำให้ตู้อบหรือเครื่องทำความอบอุ่น โดยการแผ่รังสีทำงานตามค่าที่ได้รับสัญญาณและทำงานลดลง ส่งผลให้ทารกมีภาวะอุณหภูมิต่ำ

การทำความสะอาดและการบำรุงรักษา
1.       อย่าให้สายของ Skin Temperature probe ถูกทับโดยประตูตู้อบเด็ก หรือของหนักใด ๆ
2.     หากมีการทำความสะอาดด้วยการเช็ดแอลกอฮอล์  ให้ผู้ที่ทำความสะอาด รีบเช็ดอีกครั้งด้วยผ้าสะอาดชุบน้ำก่อนที่จะเช็ดแห้ง  เพราะมิฉะนั้นแอลกอฮอล์ที่จับอยู่บนสาย Skin Temperature probe จะทำปฏิกิริยาต่อพลาสติกหุ้มสาย และจะทำให้สายนี้แข็งเหมือนลวด ไม่สามารถม้วนงอได้ตามต้องการ
3.       เมื่อต้องการเสียบใช้ Skin Temperature probe ให้ผู้ใช้งานจับที่ SOCKET แล้วเสียบเข้าด้านข้างของ
                  ตู้อบเด็กให้ถูกต้องตามตำแหน่ง PIN ของ SOCKET มิฉะนั้นจะทำให้ PIN หักเสียหายได้
4.       เมื่อต้องการจะดึง Skin Temperature probe ออกจากตู้อบเด็ก ให้ผู้ใช้งานจับที่ SOCKET แล้วดึง         
                  ออกตรง ๆ ห้ามจับที่ตัวสายแล้วใช้วิธีกระตุกออก โดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้สายนำสัญญาณภายใน
                  ขาดเสียหาย
                5. เมื่อต้องการแกะ Skin Temperature probe ออกจากผิวหนังเด็ก จะต้องแกะ Micropore หรือ 
                 Probe Cover ออกจากผิวทารกเรียบร้อยเสียก่อน จึงค่อยหยิบ Skin Temperature probe ออกจากตัว
                 ทารก ห้ามใช้วิธีการจับที่สายแล้วกระตุก Probe ออกโดยตรงจากผิวทารก เพราะจะทำให้ส่วนหัว
                Probe นี้หักได้





ปรอทรักแร้, ปรอท Rectum
วิธีการใช้
1.       ใช้กับทารก 1 : 1
วิธีวัดอุณหภูมิร่างกาย
ž  ทางทวารหนัก
1.       สลัดปรอทให้ต่ำกว่า 35  C  
2.       สำรวจกระเปราะปรอทก่อนทุกครั้งว่าไม่แตก มีสารปรอทอยู่เต็มกระเปราะ
3.       ทาหรือป้ายกระเปราะปรอทด้วยวาสลิน หรือ K.Y Jelly เพื่อหล่อลื่น
4.   ทารกต้องนอนหงาย ถอดผ้าห่อก้นออก จับข้อเท้าทารกและยกขาด้วยมือซ้าย เพื่อให้เห็น
      บริเวณทวารหนักชัดเจน โดยก้นติดกับพื้นราบ
5.  ใช้กระเปราะปรอทที่มีวาสลิน หรือ K.Y Jelly ป้ายรอบ ๆ ทวารหนักก่อน
6.  จับปรอททำมุม 30 องศากับพื้นราบ ค่อย ๆหมุนปลายกระเปราะปรอทลงในทวารหนักเบา ๆ
     และ ช้า ๆ ด้วยมือขวา
7.  ใส่ปรอทลงในทวารหนักลึก 2.5,3 เซนติเมตร ตามแนวทาง
8.  ใช้เวลาวัดนาน 3 นาที อ่านระดับปรอท ลงในแบบฟอร์มบันทึก

ž      ทางรักแร้
1. สลัดปรอทให้ต่ำกว่า 35  C
2. ใส่กระเปราะปรอทให้อยู่กลางรักแร้
3. จับแขนทารกให้แนบกับลำตัวมากที่สุด
4. ใช้มือหนึ่งจับปรอทไว้ อีกมือหนึ่งจับเนื้อบริเวณรอบ ๆ รักแร้ให้หุ้มมิดปิดปรอท หรือใช้ผ้าอ้อม
     พันแขนให้แนบกับลำตัว ให้มิดชิดมากที่สุดตลอดเวลาการวัด
     5.  ใช้เวลาวัดนาน 5 นาที และ 8 นาที ตามแนวทาง

การทำความสะอาดและการบำรุงรักษา
1.       หลังใช้แล้ว นำไปทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่และน้ำสะอาด
2.       ผึ่งหรือเช็ดให้แห้ง  แล้วเก็บไว้ในภาชนะที่แห้งสะอาด มีฝาปิด เตรียมที่จะใช้ได้ต่อไป

ถุงถั่วเขียว
วิธีการใช้
1.       นำถุงถั่วเขียว (ที่ pack อยู่ในซอง)
2.       เครื่อง Microwave เปิดไฟขนาด 800 W.ใส่ถุงถั่วเขียวอุ่นนาน 1 นาที  Mix ให้ทั่วถุง (อุณหภูมิจะสูงได้ถึง 42  C)
3.       หลังจากอุ่นถุงได้ตามเวลาที่กำหนดแล้วให้นำถุงถั่วเขียวใส่ในซองเอกสารสีน้ำตาลและหลังจากนั้นให้ใช้ผ้าขนหนูวางทับอีกชั้นแล้วจึงนำทารกที่ห่อผ้าขนหนู  2ชั้นและห่อด้วยถุงนอนวางบนถุงถั่วเขียวที่เตรียมไว้
4.       อุณหภูมิภายในถุงถั่วเขียวสามารถรักษาความร้อนไว้ได้นานถึง 2 ชั่วโมงโดย 1 ชั่วโมงผ่านไปสามารถนำผ้าขนหนูที่รองออกก็ยังจะสามารถรักษาระดับความร้อนได้อีก 1 ชั่วโมง
5.       ถ้าอุณหภูมิเกินตั้งแต่ 42  C ขึ้นไปจะทำให้  Burn ได้จึงต้องเอาผ้าคลุมทับใน 1 ชั่วโมงแรก

                อื่น ๆ
                     ž     การเช็ดตัวในตู้ควบคุมอุณหภูมิทารก
                                - เช็ดตาทารกด้วยน้ำเกลือนอร์มอล (Normal saline)
                                - เตรียมของเครื่องใช้ทุกอย่างไว้ให้พร้อมใช้ ผ้าอ้อมนำไปวางที่ปลายเท้าของตู้อบทารกเพื่ออบอุ่น
                           ระดับหนึ่งและพร้อมใช้
                                - เตรียมน้ำอุ่นจัดประมาณ 38 - 39 C
                                - ใช้ผ้าเช็ดตัวสำหรับเช็ดตัวทารก ชุบน้ำบิดให้หมาดเช็ดใบหน้า ซอกคอ รักแร้ แขนทั้ง 2 ข้าง
                          ลำตัวส่วนหน้า ลำตัวส่วนหลัง ขาทั้ง 2 ข้าง อวัยวะเพศ และก้น ตามลำดับ โดยซักผ้าเช็ดตัว
                          ทารก บิดให้หมาดทุกครั้งที่เปลี่ยนบริเวณที่เช็ดตัว และซับตัวให้แห้งทันทีทุกครั้ง
                                - เปลี่ยนผ้าปูที่สัมผัสตัวทารกที่เปียกชื้นจากการเช็ดตัว เป็นผ้าแห้งทันทีหลังเช็ดตัวเสร็จ

ž        การอาบน้ำทารก        
จะกระทำเมื่อทารกไม่มีปัญหาการเจ็บป่วย หายใจปกติดี ไม่ใช้อุณหภูมิแวดล้อมสูงกว่า 33 C น้ำหนักไม่ควรต่ำกว่า 1500 กรัม กรณีพิจารณาว่าทารกน้ำหนัก.ต่ำกว่า 1500 กรัม อุณหภูมิร่างกายปกติดีมาตลอด ควรพิจารณาอายุครรภ์ประกอบด้วย
อุปกรณ์ของเครื่องใช้เตรียมให้พร้อม
ผสมน้ำอุ่น 37  C
ใช้เวลาสระผม อาบน้ำไม่มากกว่า 3 – 5 นาที
หลังสระผมเสร็จ ต้องเช็ดให้แห้งทันที
ถ้าเป็นไปได้ จัดให้ทารกอาบน้ำภายใต้เครื่องให้ความอบอุ่นชนิดธรรมดา หรือเครื่องให้ความ
                      อบอุ่นชนิดแผ่รังสี หรือเมื่ออาบน้ำเสร็จนำทารกไปแต่งตัวภายใต้เครื่องมือประเภทนี้และให้ความ
                      อบอุ่นต่ออีก    15 นาที

ž การดูแลป้องกันการเกิดภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ
-          ดูแลไม่ให้ทารกแช่อุจจาระ ปัสสาวะสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในทารกที่ทราบว่าการควบคุมอุณหภูมิร่างกายยังไม่ดีพอ
-          ตรวจสอบอุณหภูมิตู้อบทารก และเครื่องให้ความอบอุ่นชนิดแผ่รังสี ปรับตั้งอุณหภูมิให้เหมาะสมกับทารก
-          ขณะให้ออกซิเจนแก่ทารกด้วยวิธีO2box หรือ O2 flowป้องกันการสูญเสียความร้อนจากทารกจาก         
      การระเหยและการพาด้วยการใช้ Plastic wrapห่อหุ้มบริเวณศีรษะทารกไว้โดยรอบหรือสวมหมวก    
      2 ชั้น
-          เมื่อแพทย์ต้องการเจาะเลือด เก็บตัวอย่างส่งตรวจ หรือการที่พยาบาลต้องดูดเสมหะให้ทารก  ไม่ควรดึงที่นอนของทารกออกมานอกระบบหมุนเวียนอากาศภายในตู้อบ  ถ้าไม่ถนัดและไม่สะดวกต่อหัตถการเหล่านั้น การนำทารกไปนอนภายใต้เครื่องให้ความอบอุ่นชนิดธรรมดา หรือเครื่องให้ความอบอุ่นชนิดแผ่รังสี  ถ้าไม่สามารถเคลื่อนย้ายทารกไปได้ ควรนำอุปกรณ์ที่มีอยู่นั้นมาให้ความอบอุ่นเหนือที่นอนของทารกขณะต้องเปิดประตูตู้อบทารกและเคลื่อนตัวทารกออกนอกระบบหมุนเวียนอากาศภายในตู้อบทารก

ž        การนำทารกออกจากตู้ควบคุมอุณหภูมิกายทารก
- เมื่อน้ำหนักทารก  ³ 1,600 กรัม และอาการอื่นคงที่
- เมื่อลดอุณหภูมิตู้อบจนใกล้เคียงกับอุณหภูมิห้องที่ทารกอยู่ และทารกมีอุณหภูมิปกติให้ห่อผ้า   สวมหมวก 2 ชั้น แก่ทารก แล้วนำทารกออกจากตู้อบให้อยู่ใน Crib ภายใต้ Radiant Warmer โดยเปิด Radiant Warmer ก่อนนำทารกออกจากตู้อบ 5 นาที
เอกสารอ้างอิง

1.  เกรียงศักดิ์        จีระแพทย์. คู่มือการใช้เครื่องให้ความอบอุ่น โดยการแผ่รังสี- ศิริราช.โครงการผลิต   
     เครื่องมือสำหรับทารกแรกเกิด  ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราช.

2.  คู่มือการใช้งานเครื่องให้ความอบอุ่นเด็ก อะตอม รุ่น วี 505 และคำแนะนำในการบำรุงรักษา     
เตียวฮงสีลม.กรุงเทพ ฯ

3.  คู่มือการใช้งานตู้อบเด็กชนิดเคลื่อนย้าย ทีไอ 500.

4.  คู่มือการใช้งานตู้อบเด็กอะตอม รุ่น วี 80 และ วี 850 .เตียวฮงสีลม.กรุงเทพ ฯ

5.   เครือวัลย์         ติณสูลานนท์.แนวทางการป้องกันและแก้ไขภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำและสูงใน
    ทารกแรกเกิด.ในเอกสารประกอบการประชุม Preventive Measures in Neonatal Care.ชมรมเวช
    ปฏิบัติทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย,2546:72-77

6.   วีณา     จีระแพทย์.การควบคุมอุณหภูมิของทารก.ในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจำปี
      2543.ชมรมเวชปฏิบัติทารกแรกเกิดแห่งประเทศไทย,2543:99-112

7.   สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.คู่มือการป้องกันการติดเชื้อและควบคุม
     การแพร่กระจายเชื้อในสถานที่บริการสาธารณสุขสำหรับพยาบาล.องค์การรับส่งสินค้าและ
     วัสดุภัณฑ์. กรุงเทพฯ, 2546: 56-59