บทความที่ได้รับความนิยม

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การป้องกันอุณหภูมิกายทารก พยาธิสภาพ

เรื่องการประเมินอุณหภูมิกายโดยวัดปรอท
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ฟังได้มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง
1. การควบคุมอุณหภูมิกายของทารก
2. อุณหภูมิร่างกาย วิธีการวัด และเครื่องมือในการวัดอุณหภูมิ
3. ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของร่างกายในภาวะปกติ
การควบคุมอุณหภูมิกายของทารก
ทารกคลอดก่อนกำหนด มีกลไกการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อื่นๆ
แต่ประสิทธิภาพในการทำงานของกลไกการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายยังเป็นไปได้ไม่ดาหรือไม่สามารถทำหน้าที่ได้ ส่งผลให้ อุณหภูมิแกนกลางของร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง กลไกการควบคุมอุณหภูมิร่างกายประกอบด้วย
1. ตัวรับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ประกอบด้วย ตัวรับความรู้สึกอุณหภูมิเย็น และตัวรับความรู้สึกร้อน ตัวรับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิจะพบได้ใน 2 บริเวณคือ บริเวณผิวหนังและสมองส่วนไฮโปธาลามัส โดยตัวรับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่บริเวณผิวหนังจะเป็นตัวรับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่อุณหภูมิภายนอก ตัวรับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่สมองส่วนไฮโปธาลามัส จะเป็นตัวรับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิส่วนกลาง(central receptor ) ซึ่งไวต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของเลือดที่ไหลผ่าน การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิบริเวณผิวหนังจะเป็นตัวรับความรู้สึกเย็นเป็นสำคัญ และในตัวรับความรู้สึกร้อนจะอยู่ในสมองส่วนไฮโปธาลามัส และในทารกแรกคลอดตัวรับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่สำคัญคือบริเวณผิวหนังโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ใบหน้า บริเวณที่ถูกเลี้ยงด้วยเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5
2. ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย (thermoregulation center) อยู่ในสมองส่วนฮัยโปธาลามัส ทำหน้าที่ในการปรับระดับอุณหภูมิร่างกายให้คงที่ที่จุดใดจุดหนึ่งที่เรียกว่า “ จุดกำหนด “( set point temperature) ซึ่งในทารกคลอดก่อนกำหนดจะมีการปรับระดับอุณหภูมิกายในร่างกายที่ 37.5 องศาเซลเซียส ในขณะที่ทารกครบกำหนดจะมีการปรับอุณหภูมิกายที่ 36.5 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิที่ร่างกายกำหนดนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้บ้างเล็กน้อยในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไปประมาณ +-5 องสาเซลเซียส ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิร่างกายแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
2.1 ศูนย์ควบคุมเกี่ยวกับการระบายความร้อน (Heat loss center) อยู่ในสมองบริเวณพรีออพติค แอเรีย (preoptic area) ในฮัยโปธาลามัสส่วนหน้า ทำหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับการระบายความร้อนของร่างกาย
2.2 ศูนย์ควบคุมเกี่ยวกับการเพิ่มความร้อน( Heat promotion center) อยู่ในฮัยโปธาลามัสส่วนหลัง ทำหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับการผลิดความร้อนในร่างกาย
3. กลไกการปรับอุณหภูมิร่างกาย (effector mechanism or effector are) เกี่ยวข้องกับการเพิ่มความร้อนภายในร่างกายและการระบายความร้อนออกจากร่างกาย ประกอบด้วยกลไกการควบคุมทางต่อมเหงื่อ กลไกการปรับอุณหภูมิร่างกาย ได้แก่ หลอดเลือด กล้ามเนื้อ ต่อมเหงื่อ ต่อมไร้ท่อ ต่อมหมวกไต
กลไกการทำงานของระบบควบคุมอุณหภูมิกายจะเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง ตัวรับการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิทั้งที่รอบนอกและส่วนกลางจะส่งสัญญาณนำเข้าไปที่ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิในฮัยโปธาลามัสเพื่อรวบรวมสัญญาณนำเข้าทั้งหมด แล้วปรับจุดอุณหภูมินำเข้าทั้งหมด แล้วปรับจุดกำหนดอุณหภูมิร่างกายใหม่ จากนั้นจึงส่งสัญญาณนำออก ไปยังอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับกลไกการปรับอุณหภูมิร่างกาย เพื่อให้เกิดการตอบสนองจนได้อุณหภูมิภายในร่างกายเท่าจุดกำหนดก็ยับยั้งการทำงานของอวัยวะต่างๆ โดยมีสัญญาณประสาทไปยับยั้งที่ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิในลักษณะที่เรียกว่า กลไกการป้อนกลับเชิงลบ




















แผนภูมิระบบการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถของทารกแรกเกิดในการควบคุมอุณหภูมิกาย
1. อายุครรภ์ ระดับของการคลอดก่อนกำหนด จะมีอิทธิพลต่อความสามารถในการผลิตความร้อน ความสามารถในการสงวนรักษาความร้อนของผิวหนังและความสืรนืมารถำของทารกที่จะงอแขนหรือเคลื่อนไหวร่างกาย
2. ความพิการของระบบประสาทหรืออันตรายต่อระบบประสาท เช่น ไม่มีสมองส่วนไฮโปทาลามัสหรือภาวะไม่มีสมอง การขาดออกซิเจนเป็นเวลานานำจะมีผลต่อกลไกการควบคุมอุณหภูมิกายไม่สามารถทำหน้าที่ได้
3. การใช้ยาที่ตอบสนองของกลไกการควบคุมอุณหภูมิกาย ได้แก่ ยาเพทธิดีน (pethidine)ไดอะซีแปม(diazepam) มีเพอริดีน(meperidine) ยากดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง
4. โรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ภาวะหายใจลำบาก (RDS) ภาวะแรงดันเลือดในปอดสูง(persistant pulmonary hypertension) และการได้รับเครื่องช่วยหายใจ อาจทำให้จำนวนออกซิเจนไม่เพียงพอในการสลายไขมันสีน้ำตาล
5. โรคทางระบบการไหลเวียนของโลหิต เช่นหัวใจล้มเหลว (cardiac failure) โรคภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิด(congenital heart disease) และภาวะขาดออกซิเจนทำให้มีจำนวนออกซิเจนไม่เพียงพอในการสลายไขมันสีน้ำตาล
6. การสนองตอบต่อต่อมไร้ท่อ เช่น การที่มารดาใช้ยาไทโอยูเรีย(thiouuea) ซึ่งนำมาสู่การเกิดภาวะไฮโปไทรอยดิซึม ในทารกหรือที่มีภาวะภาวะไฮโปไทรอยดิซึม ทำให้การเมตะบอลิซึมของไขมันสีน้ำตาลไม่ดี
7. การตอบสนองในเรื่องของอาหาร เช่น การได้รับอาหารและพลังงานที่ไม่เพียงพอการไม่ได้รับอาหารทางปาก หรือความไม่สมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย โดยเฉพาะโซเดียม โปแตสเซียม จะมีผลทำให้ระบบความร้อนของร่างกายเป็นไปได้ไม่ดี
8. ภาวการณ์ติดเชื้อ








ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของร่างกายในภาวะปกติ

ในภาวะปกติมีปัจจัยหลายประการ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของร่างกาย พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิร่างกายในภาวะปกติ ได้แก่ อายุ สภาพแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงในรอบวัน การมีกิจกรรมต่างๆ ฮอร์โมนและภาวะเครียด
1. อายุ เนื่องจากทารกมีอัตราการเผาผลาญสูงกว่าผู้ใหญ่อุณหภูมิทารกจึงสูงกว่าประมาณ 0.5 องศาเซลเซียส หรือ 1 องศาฟาเรนไฮท์ จากการศึกษาของ มิลเลอร์ เบเฮอร์ และเดนิสสัน ( Miller, Behrle, Hagar & Denison, 1961) ในทารกแรกเกิด อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 7 วันพบว่า อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มขึ้นตามอายุหลังคลอดที่เพิ่มขึ้น
2. สภาพแวดล้อม
2.1 อุณหภูมิของสภาพแวดล้อม ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงหรือต่ำมากเกิน
ไปเป็นสาเหตุทำให้ ทารกมีอุณหภูมิร่างกายสูงหรือต่ำกว่าปกติได้ และยังมีอิทธิพลต่อทั้งอุณหภูมิภายในและอุณหภูมิภายนอกของร่างกาย เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงหลอดเลือดบริเวณผิวหนังจะมีการขยายตัวทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายใกล้เคียงกับอุณหภูมิที่ผิวหนัง แต่ถ้าร่างกายอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำ อุณหภูมิในแต่ละส่วนของร่างกายจะแตกต่างกันมาก เช่น ที่บริเวณแขนขาจะมีอุณหภูมิต่ำ เนื่องจากหลอดเลือดส่วยปลายมีการหดรัดตัวเพื่อลดการระบายความร้อนสู่สิ่งแวดล้อม เป็นการปรับตัวเพื่อรักษาอุณหภูมิของร่างกายของอวัยวะภายในที่สำคัญ เช่น สมองให้อยู่ในระดับปกติ ทารกแรกเกิดจะตอบสนองต่ออุณหภูมิสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อยโดยการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของร่างกายมากกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงของการใช้ออกซิเจน
2.2 ความชื้นสัมพัทธ์ของสภาพแวดล้อม ในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสัมพันธ์สูงคือ อากาศอิ่มตัวด้วยไอน้ำ ร่างกายจะสูญเสียความร้อนโดยวิธีการระเหยน้อยกว่าสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสัมพันธ์ต่ำ
2.3 กระแสลม ในสภาพแวดล้อมที่หยุดนิ่ง ทารกแรกเกิดจะมีการสูญเสียความร้อนจากผิวกายไปสู่อากาศที่อยู่รอบผิวกายโดยกระบวนการนำความร้อน ซึ่งเกิดขึ้นได้น้อยเพราะอากาศเป็นตัวนำความร้อนที่ไม่ดีแต่ในสภาพแวดล้อมที่มีกระแสลมพัดผ่านความร้อนที่อยู่รอบผิวกายจะถูกพัดพาออกไปโดยกระบวนการพาความร้อน ทำให้ทารกสูญเสียความร้อนของร่างกายเพิ่มมากขึ้น
3. การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในรอบวัน อุณหภูมิร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงไปแต่ละวัน เช่น ในตอนเช้าก่อนตื่นนอน ( เวลา 02.00-05.00 น.) อุณหภูมิในร่างกายจะลดต่ำลง และอุณหภูมิจะสูงขึ้นในตอนบ่ายหรือตอนเย็น (เวลา 16.00-19.00 น.) อย่างไรก็ตามระดับอุณหภูมิที่แตกต่างกันมักจะไม่เกิน 0.5-0.7 องศาเซลเซียส การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมีสาเหตุจากทั้งภายในและภายนอก เช่น เกิดจากอุณหภูมิของสภาพแวดล้อม การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและระดับฮอร์โมนในร่างกาย เป็นต้น
4. การมีกิจกรรมต่างๆ เช่น ขณะที่ทารกร้องไห้และมีการเคลื่อนไหวแขนขาของร่างกาย ความร้อนจะถูกผลิตออกมาเพิ่มขึ้นจากการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อลาย ร่างกายจะปรับโดยระบายความร้อนออกมากขึ้น ซึ่งทำโดยเพิ่มปริมาณเลือดที่ไหลเข้าสู่ผิวหนังให้มากขึ้นเพื่อพาความร้อนจากแกนกลางมายังผิวหนัง อุณหภูมิของผิวหนังจะมากขึ้น นอกจากนี้การได้รับอาหารก็มีผลต่ออุณหภูมิของร่างกาย โดยพบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเผาผลาญอาหารและอุณหภูมิของร่างกายคือ ขณะที่มีการเผาผลาญอาหารจะทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น
5. ฮอร์โมน ฮอร์โมนมีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมอุณหภูมิร่างกายของทารกคือ ฮอร์โมนไทรอกซิน ( thyroxin ) ฮอร์โมนอีพิเนพริน (epinephrine) และฮอร์โมนนอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine) ฮอโมนดังกล่าวจะมีความสำคัญ เพราะจะเป็นฮอร์โมนซึ่งช่วยสร้างความร้อนให้แก่ทารกในระยะหลังคลอด
6. ภาวะเครียด (stress) ทารกแรกเกิดมีความเครียดได้เช่นเดียวกับเด็กวัยอื่นๆ แต่ความสามารถที่เผชิญหรือปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมที่เครียดยังมีจำกัด ซึ่งภาวะเครียดจะมีผลกระทบต่อการทำหน้าที่ของสมองส่วนไฮโปธาลามัสและมีผลกระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติกให้มีการหลั่งฮอร์โมนอิพิเนฟรินและนอร์อิฟิเนฟรินเพิ่มมากขึ้น ฮอร์โมนดังกล่าวจะไปเพิ่มเมตะบอลิสมของร่างกาย จึงมีผลทำให้อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มมากขึ้น














การวัดอุณหภูมิร่างกายทารกคลอดก่อนกำหนด เป็นสิ่งจำเป็นในการประเมินอุณหภูมิกาย

1 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหาดีมากเลยค่ะเป็นประโยชน์เเต่อยากทราบว่า ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิทารกสร้างสมบูรณ์เมื่อไหร่ค่ะ

    ตอบลบ