บทความที่ได้รับความนิยม

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โครงการใช้ผลงานวิจัยทางการพยาบาล



โครงการใช้ผลงานวิจัยทางการพยาบาล
เนื้อหา
1.  การกำหนดประเด็นปัญหาทางคลินิก
      1.1.  ระบุประเด็นปัญหาที่สนใจทางคลินิกที่ต้องการปรับปรุง/แก้ไข ด้วยงานวิจัย  พร้อมกลุ่มประชากร
             ภาวะของ hypoglycemia หรือ hyperglycemia  เป็นภาวะที่ต้องมีการเฝ้าระวัง ในการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดจึงควรมีมาตรฐานในการเก็บตัวอย่างเลือดอย่างถูกต้อง  ให้มีความแม่นยำหรือเกิดความผิดพลาดของค่าที่ได้น้อยที่สุด  ดังนั้นจึงหาวิธีปฏิบัติการพยาบาลในการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดที่มีมาตรฐาน  สามารถได้ผลที่แม่นยำที่สุด นำมาปฏิบัติในหน่วยงานที่ดูแลผู้ป่วยทางระบบประสาทหลังผ่าตัด หรือผู้ป่วยอื่นที่ต้องทำการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน  
    1. หลักการและเหตุผล
         โรคเบาหวานเป็นความผิดปกติของเมตะบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรตซึ่งเป็นผลให้เกิดภาวะ hyperglycemia และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง  ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานทุพพลภาพและเสียชีวิต (สุทิน ศรีอัษฎาพรและวรรณี  นิธิยานันท์, 2548)  ในขณะที่ผู้ป่วย subarachnoid  hemorrhage (SAH)และมีภาวะ vasospasm  อยู่ พบว่าค่าระดับน้ำตาลที่สูงขึ้นสัมพันธ์กับผลลัพธ์ที่ไม่ดีหลังการรักษา (Badjatia, et al., 2005) และให้หลีกเลี่ยงภาวะ hyperglycemia ในผู้ป่วย SAH หลังผ่าตัด (Takdhashi & Macdonald, 2006) ผลกระทบที่ตามมาคือระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลที่นานขึ้นและค่าใช้จ่ายในการรักษาที่เพิ่มมากขึ้น (Badjatia, et al., 2005)  การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดจึงมีความสำคัญมากในการติดตามการรักษา  การวินิจฉัย  และการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่บุคลากรทางการพยาบาลควรตระหนักอย่างยิ่ง
    1. วัตถุประสงค์
      เพื่อสร้างแนวทางปฏิบัติการพยาบาลจากผลงานวิจัยในเรื่องการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด
    1. ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ  พร้อมทั้งแนวทางการประเมิน
         เมื่อนำแนวทางปฏิบัติการพยาบาลมาใช้ในหน่วยงาน  บุคลากรทางการพยาบาลทุกคนสามารถปฏิบัติการพยาบาลได้เป็นมาตรฐานเดียวกัน  โดยประเมินจากใบตรวจสอบวิธีการเจาะเลือด  ตามวิธีการเจาะ เลือดที่ระบุในแนวทางปฏิบัติ
2.  แนวทางการสืบค้นงานวิจัยจากฐานข้อมูลสารสนเทศ
      2.1  คำสำคัญ
             คำสำคัญที่ใช้ในการสืบค้นคือ  plasma  glucose,  venous glucose,  capillary blood glucose,  puncture sites,  sampling site  
    1. ฐานข้อมูลที่ใช้ในการสืบค้น
         ในการสืบค้นได้นำเอาคำสำคัญมาทำการสืบค้นจากฐานข้อมูลทางอิเล็คโทรนิค  ได้แก่  ASP, Blackwell,  CINAHL,  OVID   
    1. ผังการสืบค้น
2 เรื่อง
Blood glucose & capillary plasma  &
Venous plasma glucose
ASP


1  เรื่อง
Blood glucose & plasma & capillary
Blackwell
CINAHL
Puncture site & pain & capillary
Capillary plasma glucose & sampling
2  เรื่อง

1  เรื่อง
Blood sampling & capillary plasma glucose
OVID

6  เรื่อง

    1. สรุปงานที่วิจัยที่สืบค้นได้
         งานวิจัยที่สืบค้นได้ทั้งหมด  6 เรื่อง แบ่งระดับความน่าเชื่อถือตามเกณฑ์ของ Melynk และ Fineout-Overholt (2005)  ดังนี้  ระดับ 2 - 4 เรื่อง  และ ระดับ 3 – 2 เรื่อง
3.  การวิเคราะห์  วิจารณ์ และประเมินคุณภาพงานวิจัย
      3.1  การออกแบบการวิจัยมีความเหมาะสมและสอดคล้องกันตั้งแต่ชื่อเรื่อง  ตัวแปร  คำถาม/สมมติฐานการวิจัย  วัตถุประสงค์  การเก็บรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูล  ผลการวิจัย  สรุปและอภิปรายผล
      3.2  ความน่าเชื่อถือของงานวิจัย:  ผู้วิจัย  วารสารที่ตีพิมพ์  จำนวนกลุ่มตัวอย่าง  ความเที่ยงและความตรงของเครื่องมือ สถิติที่ใช้  ผลการวิจัย
เรื่องที่ 1: The  Variability  of  Result  Between  Point-of-Care  Testing  Glucose Meters  and  the  Central  Laboratory  Analyzer  / level 2
      มีความสอดคล้องกับประเด็นปัญหาตั้งแต่ชื่อเรื่อง  ตัวแปร  วัตถุประสงค์  การเก็บรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูล  ผลการวิจัย  สรุปและอภิปรายผล มีการทดสอบความเที่ยงและความตรงของเครื่องมือที่ใช้ก่อนนำมาใช้ในงานวิจัย  มีความน่าเชื่อถือทั้งของผู้วิจัย  สถิติที่ใช้และผลการวิจัย  วารสารที่ตีพิมพ์
เรื่องที่ 2:  Assessment  of  the  pain   of  blood  sugar  testing:  a  randomized  controlled  trial / level 2
      มีความสอดคล้องกับประเด็นปัญหาตั้งแต่ชื่อเรื่อง  ตัวแปร  วัตถุประสงค์  การเก็บรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูล  ผลการวิจัย  สรุปและอภิปรายผล  กลุ่มตัวอย่างมีน้อย  เมื่อทำการเปรียบเทียบกับประชากรส่วนใหญ่จะไม่มีความน่าเชื่อถือพอ  แต่สถิติที่ใช้เหมาะสม  ตีพิมพ์ในวารสารที่น่าเชื่อถือได้  ส่วนผู้วิจัย  ไม่ได้ระบุว่าปฏิบัติงานในด้านใด 
เรื่องที่ 3:  Comparability  of  venous  and  capillary  glucose  measurements  in  blood / level 2
      มีความสอดคล้องกับประเด็นปัญหาตั้งแต่ชื่อเรื่อง  ตัวแปร  วัตถุประสงค์  การเก็บรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูล  ผลการวิจัย  สรุปและอภิปรายผล  มีการทดสอบความเที่ยงและความตรงของเครื่องมือที่ใช้ก่อนนำมาใช้ในงานวิจัย  มีความน่าเชื่อถือทั้งของผู้วิจัย  สถิติที่ใช้และผลการวิจัย  วารสารที่ตีพิมพ์
เรื่องที่ 4: Alternate  site  blood  glucose  testing:  do  patients  prefer  it? / level 2
      มีความสอดคล้องกับประเด็นปัญหาตั้งแต่ชื่อเรื่อง  ตัวแปร  วัตถุประสงค์  การเก็บรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูล  ผลการวิจัย  สรุปและอภิปรายผล  กลุ่มตัวอย่างมีน้อย  เมื่อทำการเปรียบเทียบกับประชากรส่วนใหญ่จะไม่มีความน่าเชื่อถือพอ  แต่สถิติที่ใช้เหมาะสม  ตีพิมพ์ในวารสารที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและผลการวิจัยซึ่งน่าเชื่อถือได้  และผู้วิจัยก็ปฏิบัติงานในหน่วยโรคเบาหวานโดยตรง 
เรื่องที่ 5:  Does  Amethocaine  gel  influence  blood  results  obtained  from  capillary  sampling? / level 3
      มีความสอดคล้องกับประเด็นปัญหาตั้งแต่ชื่อเรื่อง  ตัวแปร  วัตถุประสงค์  การเก็บรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูล  ผลการวิจัย  สรุปและอภิปรายผล  งานวิจัยนี้เป็นเพียงการทดลองนำร่อง  จำนวนกลุ่มตัวอย่างน้อยมาก  แต่ความเที่ยงและความตรงของเครื่องมือได้ผ่านการทดสอบจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง  วารสารที่ตีพิมพ์มีความน่าเชื่อถือ  และผู้วิจัยเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
เรื่องที่ 6:  Measurement  of  glucose  content  in  plasma  from  capillary  blood  in  diagnosis  of  diabetes  mellitus / level 3
      มีความสอดคล้องกับประเด็นปัญหาตั้งแต่ชื่อเรื่อง  ตัวแปร  วัตถุประสงค์  การเก็บรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูล  ผลการวิจัย  สรุปและอภิปรายผล  กลุ่มตัวอย่างมีน้อย  เมื่อทำการเปรียบเทียบกับประชากรส่วนใหญ่จะไม่มีความน่าเชื่อถือพอ มีการทดสอบความเที่ยงและความตรงของเครื่องมือก่อนนำมาใช้ในงานวิจัย  สถิติที่ใช้เหมาะสม  ตีพิมพ์ในวารสารที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและผลการวิจัยซึ่งน่าเชื่อถือได้ และผู้วิจัยก็ปฏิบัติงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยโดยตรง 
4.  การสังเคราะห์งานวิจัย
เรื่องที่ 1: The  Variability  of  Result  Between  Point-of-Care  Testing  Glucose  Meters  and  the  Central  Laboratory  Analyzer  / Randomized control trial-level 2
ชื่อผู้วิจัย/วารสาร/ปีที่ตีพิมพ์:  Khan A., Vasquez Y., Gray J., Wilans Jr. F., & Kroll M.H. / Arch Pathology Lab Medical / 2006 
      ทำการวิจัยในกลุ่มตัวอย่าง 358 คน โดยเป็นผู้ป่วยนอกที่มาตรวจเช็คสุขภาพเป็นประจำกับผู้ป่วยในโรงพยาบาล  แล้ว เปรียบเทียบผลค่าน้ำตาลที่วัดจากเครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด (glucose meter)จากยี่ห้อต่างๆ กับผลทางห้องปฏิบัติการ  พบว่าค่าน้ำตาลที่วัดจาก glucose meter ในกลุ่ม Accu-Chek มีค่าความโน้มเอียง (Bias) น้อยที่สุด แม้จะตรวจวัดค่าน้ำตาลห่างกัน 5 นาที  แต่จะมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับค่าน้ำตาลที่ได้จากห้องปฏิบัติการ (p<.05)  ในกลุ่ม hypoglycemia (< 50 mg/dl) จะมีค่า bias +10% และ กลุ่ม hyperglycemia (>500 mg/dl) มีค่า bias -20%  และพยาบาลผู้ใช้เครื่องต้องผ่านการอบรมการใช้เครื่องมือก่อน
สรุปผลการนำไปใช้ 
    1. การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยเครื่องในกลุ่ม Accu-Chek  จะให้ค่า bias น้อยที่สุด
    2. เมื่อทำการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อภาวะ hypoglycemia (< 50 mg/dl) ควรประมาณค่า ความโน้มเอียง [bias] +10% และ กลุ่ม hyperglycemia (>500 mg/dl) ควรประมาณค่า[bias] -20% 
    3. ถ้าทำการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อภาวะsevere hypoglycemia และ hyperglycemia ควรส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
    4. เครื่อง glucose meter ต้องมีการตรวจเช็คสภาพให้เป็นไปตามข้อกำหนดการดูแลรักษาของทางบริษัท
เรื่องที่ 2: Assessment  of  the  pain  of  blood  sugar  testing: a  randomized  controlled  trial / Randomized control trial-level 2
ชื่อผู้วิจัย/วารสาร/ปีที่ตีพิมพ์:  Loverland M.E., Carley S.D., Cranfield N., Hillier V.F., & Mackway-Jones K. / The Lancet / 1999
      ทำการวิจัยในผู้ป่วยที่มาตรวจที่ห้องฉุกเฉิน จำนวน 79 คน เป็นเพศชายโดยมีอายุมากกว่า 16 ปี  ไม่มีความผิดปกติในการพูด, ต้องอยู่ในเกณฑ์ Alert จาก AVPU scale, ไม่มีเลือดออกผิดปกติ,  ไม่มีความผิดปกติของการรับรู้ความรู้สึก (รวมถึง pain)  หรือไม่มีรอยโรคบริเวณตำแหน่งที่จะทำการทดสอบ แล้วแบ่งกลุ่มการเจาะเลือดในตำแหน่งที่แตกต่างกันคือ บริเวณแขน นิ้วมือ และนิ้วหัวแม่มือ  เพื่อประเมินความเจ็บจากตำแหน่งต่างๆ พบว่า ตำแหน่งด้านข้างของนิ้วหัวแม่มือจะเจ็บน้อยที่สุดและผู้ป่วยพึงพอใจมากที่สุด
สรุปผลการนำไปใช้
      1.  ตำแหน่งบริเวณด้านข้างนิ้วหัวแม่มือจะเป็นตำแหน่งการเจาะเลือดที่เจ็บน้อยที่สุด  โดยเฉพาะผู้ป่วยเพศชาย
เรื่องที่ 3:  Comparability  of  venous  and  capillary  glucose  measurements  in  blood / Randomized control trial-level 2
ชื่อผู้วิจัย/วารสาร/ปีที่ตีพิมพ์:  Colagiuri S., Sandbaek A., Carstensent B., Christensent J., Glumert C., Lauritzen T., & Borch-Johnsent K. / Diabetic Medicine / 2003
      ทำการเปรียบเทียบค่าน้ำตาลจากการเจาะเลือดบริเวณ  vein กับ capillary  ในกลุ่มตัวอย่าง 609 คน ด้วยวิธีการสุ่ม การตรวจน้ำตาลทันที และตรวจหลังรับประทานน้ำตาลแล้ว 2 ชั่วโมง พบว่าค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าน้ำตาลที่ได้จาก vein กับ capillary  ไม่แตกต่างกัน  และสามารถเจาะตรวจค่าน้ำตาลจาก venous plasma และ capillary whole blood  แต่ค่าจาก venous plasma จะเหมาะสมที่สุด
สรุปผลการนำไปใช้
    1. สามารถตรวจค่าน้ำตาลในเลือดได้ทั้งบริเวณ vein และ capillary
    2. ตัวอย่างเลือดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเจาะหาค่าน้ำตาลในเลือดคือ venous plasma
เรื่องที่ 4: Alternate  site  blood  glucose  testing:  do  patients  prefer  it? / Randomized control trial-level 2
ชื่อผู้วิจัย/วารสาร/ปีที่ตีพิมพ์:  Tieszen K.L. & New J.P. / Diabetic Medicine / 2003
      เป็นการศึกษาตำแหน่งของการเจาะเลือดวัดระดับน้ำตาลในเลือดและความสะดวกของการใช้เครื่อง glucose meterด้วยการตรวจเลือดจากนิ้วโดยตรง, ใส่capillary tube เพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการและการใช้เครื่องยี่ห้อ soft-sense ที่เจาะเลือดบริเวณแขน   จากกลุ่มตัวอย่าง 101 คน  ที่มีอายุระหว่าง 16-60 ปี เป็นผู้ป่วยคลินิกเบาหวานและผู้ที่เคยใช้เครื่อง glucose meter ที่บ้าน พบว่า ผู้ป่วยที่ใช้เครื่อง soft-sense จะมีความเจ็บน้อยกว่าการเจาะเลือดบริเวณนิ้วที่ใช้เครื่อง glucose meter ทั่วไป  ผู้ป่วยที่ใช้มีความพึงพอใจในการสะดวกของการใช้เครื่อง soft-sense ด้วย  ค่า bias ระหว่างตำแหน่งที่เจาะกับการใช้ glucose meter และผลทางห้องปฏิบัติการเป็นค่าที่ยอมรับได้
สรุปผลการนำไปใช้
    1. การเจาะเลือดตรวจด้วยเครื่อง soft-sense จะทำให้ผู้ป่วยเจ็บน้อยกว่าการเจาะเลือดบริเวณนิ้วเพื่อตรวจกับเครื่อง glucose meter ทั่วไป
    2. ค่าbias ของค่าน้ำตาลที่ได้จากการใช้เครื่องglucose meter ทั้งสองชนิดเป็นที่ยอมรับได้เมื่อเทียบผลที่ได้จากห้องปฏิบัติการ
เรื่องที่ 5:  Does  Amethocaine  gel  influence  blood  results  obtained  from  capillary  sampling? / Quasi-experimental study-level 3
ชื่อผู้วิจัย/วารสาร/ปีที่ตีพิมพ์:  Llewellyn N., Liley A., Cropper J., & Hutchison L. / Pediatric nursing / 2006
      เป็นโครงการนำร่องในการทดลองการใช้ยาชาเฉพาะที่ (มีส่วนประกอบ Amethocaine gel 4%)ทาบริเวณที่เจาะเลือดก่อนทำการเจาะตรวจหาค่าสารเคมี (Na+, K+, glucose, urea, ALP, AST, ALT และ bilirubin) เปรียบเทียบกับการไม่ใช้ยาชาทาเฉพาะที่  จากอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี จำนวน 22  คน โดยมีวิธีการเจาะเลือดตามการแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ phlebotomists  ผลพบว่า เลือดที่ได้จากนิ้วที่ทายาชาเฉพาะที่จะมีค่าของNa+ จะสูงกว่าและค่าของ ALP จะต่ำกว่า เลือดที่ได้จากนิ้วที่ไม่ได้ทายาชา  อย่างมีนัยสำคัญ (p= .05)
สรุปผลการนำไปใช้
      1.  วิธีการเจาะเลือดโดย  ต้องไม่ทำให้เกิดการเจาะเลือดซ้ำเพราะค่าที่ได้จะเป็นผลจากการที่เนื้อเยื่อถูกทำลาย, เมื่อจำเป็นต้องมีการเจาะเลือดซ้ำ บริเวณที่เจาะต้องมีการไหลเวียนเลือดดี, เลือดที่ออกต้องออกอย่างอิสระจากตำแหน่งที่เจาะ บางครั้งสามารถบีบให้เลือด ออกได้แต่ต้องมีการไหลกลับของเลือดดี, ห้ามรีดหรือกดบริเวณที่เจาะมากเกินไปเพราะจะทำให้เกิด hemolysis และเกิดการเปลี่ยนแปลงของค่าสารเคมีบางตัว และการกดจะทำให้ได้น้ำจากเนื้อเยื่อแทน, บริเวณที่เจาะต้องไม่หยาบและแห้ง, ก่อนเจาะ  เลือกนิ้วที่ต้องการเจาะ  ทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ รอให้แห้ง ใช้ Autolet เจาะ เลือดหยดแรกให้เช็ดออก จากนั้นใช้แรงกดเล็กน้อยเพื่อให้แน่ใจว่าเลือดที่ได้มีส่วนประกอบของสารเคมีอยู่ด้วย ( Na+  K+ urea  glucose  AST  ALP  ALT  และ bilirubin)
      2. สามารถใช้ยาชาที่มีส่วน ประกอบของ amethocaine 4% ใช้สำหรับลดความปวดก่อนการเจาะน้ำตาลได้เพราะไม่ทำให้ผล glucose มีการเปลี่ยนแปลง
เรื่องที่ 6:  Measurement  of  glucose  content  in  plasma  from  capillary  blood  in  diagnosis  of  diabetes  mellitus / Quasi-experimental study-level 3
ชื่อผู้วิจัย/วารสาร/ปีที่ตีพิมพ์:  Stahl M. &Brandslund I. / Scandinavia  Journal Clinical Laboratory Investigation / 2003
      เป็นการวิจัยโดยใช้อาสาสมัคร 50 คน เจาะเลือดตรวจค่าน้ำตาลจากตัวอย่างเลือดที่แตกต่างกันคือ capillary plasma, capillary whole blood, venous plasma และ venous whole blood  เปรียบเทียบด้วยวิธีที่แตกต่างกัน  เปรียบเทียบตัวอย่างเลือดที่เจาะในตำแหน่งเดียวกัน  พบว่าค่าน้ำตาลที่เจาะจาก capillary blood บริเวณนิ้วและติ่งหูมีความสอดคล้องกันสามารถใช้แทนกันได้,  ผลการเปรียบเทียบเมื่อใช้ตัวอย่างเลือดต่างกันแต่ตำแหน่งเดียวกัน พบว่า  ค่าน้ำตาลจาก plasma ของหูหรือนิ้ว สัมพันธ์กับค่าที่ได้จาก whole blood,  ค่าน้ำตาลของ plasma เปรียบเทียบกับ whole blood ที่ได้จากเส้นเลือดดำตำแหน่งเดียวกันมีค่าสัมพันธ์กัน,  ค่าน้ำตาลที่ได้จาก capillary plasma และ capillary whole blood ที่มีวิธีการวิเคราะห์ผลต่างกัน จะได้ผลส่วนใหญ่เหมือน กัน,  ค่าความคลาดเคลื่อนจาก capillary plasma , capillary whole blood บริเวณนิ้วและหู , venous plasma ไม่แตกต่างกัน,   ในการวินิจฉัยโรคเบาหวานสามารถใช้ capillary blood จากหูได้เหมือนกับ venous plasma , ความแตกต่างระหว่างตำแหน่ง (vein และ capillary) และใช้วัดค่าในตัวอย่างที่ต่างกัน (plasma และ whole blood) จะทำให้แยกประเภทของผู้ป่วยเบาหวานได้ไม่ดี
สรุปผลการนำไปใช้
    1. สามารถเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลได้จากทั้งนิ้วและหู
    2. สามารถใช้ plasma จาก vein ตรวจค่าน้ำตาลได้เพราะจะได้ค่าเทียบเคียงกับ whole blood ในตำแหน่งเส้นเลือดดำเดียวกัน ซึ่งมีวิธีการเก็บตัวอย่างเลือดส่งห้องปฏิบัติการอย่างถูกวิธี
    3. ค่าน้ำตาลของ capillary whole blood ไม่สามารถเทียบเคียงกับค่าน้ำตาลจาก venous plasma
    4. ถ้าต้องตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวานควรใช้ venous plasma ตามที่ ADA แนะนำ
    5. ถ้าต้องการติดตามผลน้ำตาลในเลือด สามารถใช้ตัวอย่างทั้ง capillary whole blood และ capillary plasma
5.  การสร้างแนวทางปฏิบัติการพยาบาล
แนวทางปฏิบัติการพยาบาล (CNPG)
เรื่อง  แนวทางปฏิบัติในการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด
วัตถุประสงค์ เพื่อให้บุคลากรทางการพยาบาลใช้เป็นแนวทางปฏิบัติการพยาบาลสำหรับการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน
ความหมาย การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างมีประสิทธิภาพ  หมายถึง  การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดที่ได้ผล เที่ยงตรง น่าเชื่อถือที่สุด ผิดพลาดน้อยที่สุด  และผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดจากการเจาะเลือดน้อยที่สุด 
ลักษณะกลุ่มประชากรที่จะใช้ CNPG
            ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 16 ปี  ได้รับการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด 
ผลลัพธ์การใช้ CNPG
            1.  ผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดมีความถูกต้อง  แม่นยำและเชื่อถือได้
            2.  ผู้ป่วยมีความพึงพอใจในการเจาะเลือดตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด
ที่มาของงานวิจัยหรือหลักฐาน
            แหล่งข้อมูลสืบค้นจากฐานข้อมูลทาง electronic ในฐานข้อมูลของ CINAHL, OVID, Blackwell และ ASP  ได้งานวิจัยทั้งหมด 6 เรื่อง  แบ่งระดับความน่าเชื่อถือตามเกณฑ์ของ Melynk และ Fineout-Overholt (2005)  ดังนี้  ระดับ 2 - 4 เรื่อง  และ ระดับ 3 – 2 เรื่อง  โดยมีคำสำคัญที่ใช้ในการสืบค้นคือ  plasma  glucose,  venous glucose,  capillary blood glucose,  puncture sites,  sampling site  
แนวทางปฏิบัติ 
      ตำแหน่งที่เจาะ  สามารถเจาะเลือดได้ในตำแหน่งต่างๆ  เช่น  ติ่งหู  นิ้วมือ  แขน  (Stahl & Brandslund, 2003 / level 3)  แต่บริเวณนิ้วหัวแม่มือจะทำให้เจ็บน้อยที่สุด (Loverland, Carley, Cranfield, Hillier, & Mackway-Jones, 1999 / level 2)
    ตัวอย่างเลือดที่ใช้
  1. สามารถใช้ตัวอย่างเลือดได้ทั้ง capillaty whole blood หรือ capillary plasma  โดยเฉพาะในกรณีที่มีความจำเป็นในการติดตามระดับน้ำตาลในเลือดอย่างต่อเนื่อง (Stahl & Brandslund, 2003 / level 3)
  2. ถ้าต้องการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคเบาหวาน ให้ใช้ตัวอย่างเลือด venous plasma  โดยเจาะจากเส้นเลือดดำ ใส่หลอด lithium heparin แล้วแช่น้ำเย็นหรือน้ำแข็ง ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการภายใน 30 นาที (Stahl & Brandslund, 2003 / level 3)
    ลดอาการปวด
  1. ใช้ยาชาทาเฉพาะที่ ที่มีส่วนประกอบของ amethocaine 4%  ทาก่อนทำการเจาะเลือดเพื่อลดอาการเจ็บปวดจากการเจาะเลือด (Llewellyn, Liley, Cropper, & Hutchison, 2006 / level 3)
  2. เลือกเจาะบริเวณด้านข้างนิ้วหัวแม่มือ ซึ่งเป็นบริเวณที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดน้อยกว่าบริเวณอื่น(Loverland, Carley, Cranfield, Hillier, & Mackway-Jones, 1999 / level 2)
    วิธีการเจาะเลือด capillary sampling  (Llewellyn, Liley, Cropper, & Hutchison, 2006 / level 3)
  1. ต้องไม่ทำให้เกิดการเจาะเลือดซ้ำในตำแหน่งเดิมเพราะค่าที่ได้จะเป็นผลจากการที่เนื้อเยื่อถูกทำลาย  เมื่อจำเป็น ต้องมีการเจาะเลือดซ้ำบริเวณที่เจาะต้องมีการไหลเวียนเลือดดี
  2. เลือดที่ออกต้องออกอย่างอิสระจากตำแหน่งที่เจาะ บางครั้งสามารถบีบให้เลือดออกได้แต่ต้องมีการไหลกลับของเลือดดี  ห้ามรีดหรือกดบริเวณที่เจาะมากเกินไปเพราะจะทำให้เกิด hemolysis และเกิดการเปลี่ยนแปลงของค่าสารเคมีบางตัว และการกดจะทำให้ได้น้ำจากเนื้อเยื่อแทน
  3. บริเวณที่เจาะต้องไม่หยาบและแห้ง  เมื่อเลือกนิ้วที่ต้องการเจาะแล้ว  ทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ รอให้แห้ง ใช้ Autolet เจาะ เลือดหยดแรกให้เช็ดออก จากนั้นใช้แรงกดเล็กน้อยเพื่อให้แน่ใจว่าเลือดที่ได้มีส่วนประกอบของสารเคมีอยู่ด้วย  (Na+  K+ urea  glucose  AST  ALP  ALT  และ bilirubin)
    การตรวจโดยใช้เครื่องตรวจ glucose meter
    1. ผู้ใช้ต้องมีความรู้และผ่านการอบรมการใช้เครื่อง (Khan, Vasquez, Gray, Wians Jr., & Kroll, 2006 / level 2:
Llewellyn, Liley, Cropper, & Hutchison, 2006 / level 3)
  1. เครื่อง glucose meter ต้องมีการตรวจเช็คสภาพให้มีความแม่นยำในการอ่านค่า โดยปฏิบัติตามข้อกำหนดของทางบริษัท (Khan, Vasquez, Gray, Wians Jr., & Kroll, 2006 / level 2: Stahl & Brandslund, 2003 / level 3)
  2. ควรตระหนักถึงค่าความโน้มเอียง (bias) ในผู้ป่วย hypoglycemia (< 50 mg/dl) จะมีค่า bias +10% และ กลุ่ม hyperglycemia (>500 mg/dl) มีค่า bias -20%  (Khan, Vasquez, Gray, Wians Jr., & Kroll, 2006 / level 2)
    ประเมินความพึงพอใจและความปวด  (Loverland, Carley, Cranfield, Hillier, & Mackway-Jones, 1999 / level 2)
      1.  แบบประเมินความพึงพอใจ โดยกำหนดให้ 1 = ไม่พึงพอใจมากที่สุด และ 5 = พึงพอใจมากที่สุด
    2.  แบบประเมินความปวดโดยใช้ visual analogue scale
6.  การประเมินความเป็นไปได้ในการนำผลงานวิจัยไปใช้ (Polit & Beck, 2004 / level 2)
      6.1  Transferability
             เป็นแนวทางปฏิบัติที่สามารถนำไปใช้ในหน่วยงานได้ เพราะผู้ป่วยทางระบบประสาทหลังผ่าตัดจะมีการติดตามผลน้ำตาลในเลือดอยู่เสมอ และเสนอให้เป็นแนวทางปฏิบัติที่ทุกหน่วยงานในองค์กรที่ต้องทำการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดนำไปปฏิบัติได้  เพื่อให้เป็นมาตรฐานการปฏิบัติพยาบาลที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 
      6.2  Feasibility
            สามารถนำไปใช้ได้ทันที  ไม่รบกวนการปฏิบัติงานเดิม  วิธีปฏิบัติไม่ยุ่งยาก  เน้นให้ผู้ปฏิบัติเห็นถึงความสำคัญเพื่อให้ความร่วมมือในการปฏิบัติได้  และหน่วยงานสามารถรองรับแนวทางปฏิบัตินี้ได้
      6.3  Cost-benefit
             เครื่อง glucose meter ในกลุ่มของ Accu-Chek  จะมีความแม่นยำมากที่สุด เพื่อความปลอดภัยแก่ผู้ป่วย  ในการจัดซื้อเครื่องเพื่อนำมาใช้  จะคุ้มทุนในระยะยาว เพราะสามารถเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนจากภาวะน้ำตาลต่ำหรือสูงได้  สามารถลดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยและองค์กร  ลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยได้
7.  การวางแผนในการนำโครงการใช้ผลงานวิจัยที่พัฒนาขึ้นไปปฏิบัติ
      เมื่อผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญหรือทางคณะฯ อนุมัติให้นำไปใช้ได้  ก็สามารถนำไปเสนอให้หน่วยงานจัดทำเป็นแนวทางปฏิบัติการพยาบาลได้ทันที
8.  การวางแผนประเมินผลลัพธ์ของโครงการใช้ผลงานวิจัย
      การประเมินผลหลังการนำผลงานวิจัยไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติแล้ว  จะจัดทำใบประเมินใบตรวจสอบวิธีการเจาะเลือด  ตามวิธีการเจาะ เลือดที่ระบุในแนวทางปฏิบัติ แล้วนำมาคำนวณอัตราการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติ  นำเสนอผลให้หัวหน้าหน่วยงานรับทราบ  เพื่อหาแนวทางแก้ไขเมื่อไม่เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติ
 
เอกสารอ้างอิง 
สุทิน  ศรีอัษฎาพร  และ วรรณี นิธิยานันท์. (2548). โรคเบาหวาน. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.
    Badjatia, N., Topcuoglu, M.A., Buonanno, F.S., Smith, E.E., Nogueira, R.G.,  Rordorf, G.A., et al. (2005).
    Relationship between hyperglycemia and symptomatic vasospasm after subarachnoid hemorrhage
    [Electronic version]. Critical Care Medicine, 33(7), 1603-1609.
Colagiuri, S., Sandbaek, A., Carstensent, B., Christensent, J., Glumert, C., Lauritzen, T., & Borch-Johnsent, K.
      (2003).  Comparability  of  venous  and  capillary  glucose  measurements  in  blood [Electronic version].
      Diabetic Medicine, 20, 953-956.
    Khan, A., Vasquez, Y., Gray, J., Wilans Jr., F., & Kroll, M.H. (2006). The Variability of Result Between Point-of-
    Care Testing Glucose Meters and the Central Laboratory Analyzer [Electronic version]. Arch Pathology
    Lab Medical, 130,1527-1532.
Llewellyn, N., Liley, A., Cropper, J., & Hutchison, L. (2006). Does  Amethocaine  gel  influence  blood  results 
      obtained  from  capillary  sampling? [Electronic version]. Pediatric nursing, 18(6), 29-31.
Loverland, M.E., Carley, S.D., Cranfield, N., Hillier, V.F., & Mackway-Jones, K. (1999). Assessment  of  the  pain 
      of  blood  sugar  testing: a  randomized  controlled  trial [Electronic version]. The Lancet, 354, 921.
Stahl, M. & Brandslund, I. (2003). Measurement  of  glucose  content  in  plasma  from  capillary  blood  in 
      diagnosis  of  diabetes  mellitus [Electronic version]. Scandinavia  Journal Clinical Laboratory
      Investigation, 63, 431-440.
Takdhashi, M. & Macdonald, R.L. (2006). Subarachnoid Hemorrhage [Electronic version]. Contemporary
      Neurosurgery, 28(15), 1-8.
Tieszen, K.L. & New, J.P. (2003). Alternate  site  blood  glucose  testing:  do  patients  prefer  it? [Electronic
      version]. Diabetic Medicine, 20, 325-328.
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น